ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
ชรินทร์ อินทะสุวรรณ์ |
|
สำนักพิมพ์: |
คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
ปีที่พิมพ์: |
2549 |
|
เลขหมู่: |
ว.781.6295911 ช17ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา บทบาทดนตรีกาหลอ ศึกษาโครงสร้างทางกายภาพ ของเครื่องดนตรีกาหลอ และวิเคราะห์จังหวะทนของดนตรีกาหลอ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและ การออกภาคสนามจากคณะกาหลอ 5 คณะ คือ คณะโต๊ะยาว คณะนายน ณ วาโย คณะนายเจี้ยน สาสุธรรม คณะนายชุมพัน ทองหอม และคณะตาหลวงคง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. บทบาทของดนตรีกาหลอในอดีตใช้ประโคมบูชาพระกาล น้อมนําวิญญาณของผู้ตาย สักการะพระกาล ส่งข่าวการตาย งานบวชนาค งานสงกรานต์ งานรดน้ําคนเฒ่าคนแก่ และงานบุญต่าง ๆ ในปัจจุบันใช้ประโคมในงานศพ และไหว้ครูหมอกาหลอ 2. โครงสร้างทางกายภาพและเสียงทนในการประโคมดนตรีกาหลอ พบว่า 2.1 เครื่องดนตรีในวงดนตรีกาหลอมี 3 ชนิด คือ ปี่ฮ้อ กลองทน และฆ้อง จาก การศึกษาพบว่า ปีฮ้อ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ บอกมีรูเปิด-ปิด 3 รู ลําโพงปี พวดปี และแฉงปี กลองทนมี 2 หน่วย คือ แม่ทนยาว 57-61 เซนติเมตร หน้าใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 23-31.7 เซนติเมตร ท้ายทนเส้นผ่าศูนย์กลาง 21-25 เซนติเมตร ลูกทนยาว 55-61 เซนติเมตร หน้าใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 22-26.6 เซนติเมตร ท้ายทนเส้นผ่าศูนย์กลาง 17.5-21 เซนติเมตร ฆ้องมี 1 หน่วย เส้นผ่าศูนย์กลาง 45-48.5 เซนติเมตร ทําด้วยเหล็ก 2.2 เสียงของกลองทนพบว่า หน้าทนใช้ไม้ค้อนตี มี 6 เสียง คือ ทั้ง ทิ้ง แก๊ก ซึ่ง คร และไฟ ใช้มือตี มี 6 เสียง คือ ดึด ผัด หวัน ตรง ศพ และพรึง ท้ายทน มี 12 เสียง คือ ฉัม ตึง ฉับ ปัง หย่อง หยิบ ยก ขึ้น ปับ โจ้ง ทิ้ง และทิ้ง หน้าทนกับท้ายทน มี 2 เสียง คือ พรึบ และกรีบ 3. กระสวนจังหวะทนมี 2 ประเภท คือ ประเภทคาถา และพรรณนาความ เพลงประเภท คาถาพบว่ามี 25 ชนิด เพลงประเภทพรรณนาความมี 44 ชนิด เมื่อเปรียบเทียบกระสวนจังหวะทน เพลงประเภทคาถากับเพลงประเภทพรรณนาความ พบว่ามีกระสวนจังหวะทน 2 กลุ่ม คือ กระสวน จังหวะทนที่เหมือนกันมีชื่อประจําตัวโน้ตหลายชนิด กระสวนจังหวะทนที่แตกต่างกันมี 44 รูปแบบ จําแนกได้ 2 ลักษณะ คือ กระสวนจังหวะทนมีชื่อประจําตัวโน้ตชนิดเดียว และมีชื่อประจําตัวโน้ตหลายชนิดซึ่งมีความหลากหลายออกไป |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 4 กระสวนจังหวะทนของดนตรีกาหลอ |
|