ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
สิริพร จิตรักษ์ธรรม และคณะ |
|
สำนักพิมพ์: |
คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2545 |
|
เลขหมู่: |
ว.070.172 ส37ป |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่าน ความต้องการเนื้อหา ความเชื่อถือข่าวสาร หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเปิดรับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา ซึ่งได้แก่ ความต้องการ ความเชื่อถือข่าวสารที่นําเสนอในหน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 2 ชื่อฉบับคือ หนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้ และหนังสือพิมพ์ไทยแหลมทอง ผลการวิจัยพบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 235 คน มีผู้อ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกประจําเพียง ร้อยละ 12.34 โดยหนังสือพิมพ์ที่มีผู้อ่านมากที่สุดคือหนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้ เหตุผลสําคัญที่สุดในการอ่านคือ ต้องการทราบความเคลื่อนไหวของท้องถิ่น แต่กลับต้องการทราบปัญหาท้องถิ่น และการแก้ไขอยู่ในอันดับต่ำสุด ด้านความต้องการเนื้อหาข่าวนั้น ผู้อ่านให้ความสำคัญกับข่าวการปกครองท้องถิ่นมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการเมืองระดับประเทศ และข่าวอาชญากรรม ด้านความเชื่อถือ ผู้อ่านให้ความเชื่อถือ ข่าวสังคม-บุคคลอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ข่าวสาธารณสุข-การแพทย์ การปกครองท้องถิ่น ส่วนข่าวที่มีค่าเฉลี่ยความเชื่อถือต่ำสุดได้แก่ ข่าวต่างประเทศ ข่าวเศรษฐกิจ และข่าวไอที นอกจากนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเปิดรับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดสงขลาซึ่งได้แก่ ความต้องการเนื้อหา และความเชื่อถือนั้น ผลการวิจัยพบว่าความต้องการเนื้อหาข่าวสารของผู้อ่านมี ความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่นําเสนอในหนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้สูง (r, = 0.8238) แต่สัมพันธ์กับความเชื่อถือต่ํา (r = 0.1456) และความต้องการเนื้อหาข่าวสารของผู้อ่านมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่นําเสนอในหนังสือพิมพ์ ไทยแหลมทองค่อนข้างน้อย (r = 0.3735) และสัมพันธ์กับความเชื่อถือค่อนข้างน้อยเช่นเดียวกัน (r = 0.2835) ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยบางส่วน นั่นคือ ความต้องการเนื้อหา ข่าวสารของผู้อ่านหนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่นําเสนอในหนังสือพิมพ์ แต่มีความเชื่อถือ ค่อนข้างน้อย ส่วนความต้องการ และความเชื่อถือของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยแหลมทองมีความสัมพันธ์กับ เนื้อหาที่นําเสนอค่อนข้างน้อยเช่นเดียวกัน |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|