การศึกษาเชิงประเมินผลกระทบของระบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยในทัศนะนิสิตนักศึกษา เขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เปรมใจ เอื้ออังกูร

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.378.161 ป57ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ ที่มีต่อนโยบาย เกณฑ์ และวิธีการที่ใช้ในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา การคัดเลือกและศึกษาแนวคิดที่มีต่อรูปแบบ เกณฑ์ และวิธีการที่ควรใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้า ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยในอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาซึ่งกําลังศึกษาในชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2545 จํานวน 950 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบ แบ่งชั้น ตามสัดส่วนจํานวนนิสิตนักศึกษาในแต่ละคณะ ของแต่ละมหาวิทยาลัย ตัวแปรอิสระที่ใช้ ในการวิจัย คือ สถาบันการศึกษาที่นิสิตสังกัดอยู่ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตัวแปรตาม คือ ความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS สําหรับวินโดว์เวอร์ชั่น 10 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) นิสิตนักศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้มีความเห็นด้วยต่อนโยบายการสอบคัดเลือกโดย ภาพรวมในระดับมาก เมื่อจําแนกเป็นนโยบายย่อย พบว่า นโยบายการรับตรง / โควตา และการ สอบคัดเลือกรวม เห็นด้วยระดับมาก ส่วนนโยบายใช้ความสามารถพิเศษ เห็นด้วยระดับปานกลาง และไม่มีความแตกต่างของความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาทั้ง 3 สถาบัน ต่อนโยบายการสอบ คัดเลือก ที่ระดับความมีนัยสําคัญ 0.5 2) นิสิตนักศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้มีความเห็นด้วยต่อเกณฑ์ที่ใช้ในการรับตรง / โควตา และการใช้ความสามารถพิเศษโดยภาพรวมในระดับปานกลาง สําหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการสอบ คัดเลือกรวมเห็นด้วยในระดับมาก ไม่มีความแตกต่างของความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาทั้ง 3 สถาบันต่อเกณฑ์ที่ใช้ ที่ระดับความมีนัยสําคัญ .05 3) นิสิตนักศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ มีความเห็นด้วยต่อการดําเนินการสอบและการบริหารการสอบโดยภาพรวมในระดับมาก สําหรับเรื่องเครื่องมือคือ แบบทดสอบที่ใช้วัดมีความเห็นด้วยในระดับปานกลาง ไม่มีความแตกต่างของความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาทั้ง 3 สถาบัน ต่อการดําเนินการสอบ ที่ระดับความมีนัยสําคัญ .05 4) ผลกระทบของวิธีการที่ใช้ในการสอบคัดเลือกต่อนิสิตนักศึกษา พบว่ามีดังนี้ 4.1) จํานวนนิสิตนักศึกษาที่ลดลงในชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง โดยที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีผลกระทบมากที่สุด ลดลงร้อยละ 17.99 4.2) มีจํานวนนิสิตนักศึกษาที่เรียนกวดวิชาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้น 4.3) มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบในระดับมากต่อผู้เรียนในเกณฑ์ดังต่อไปนี้ การคิดค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม และตําแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ การแจ้งผลการสอบล่วงหน้า การสอบวัดความรู้ ความถนัดเฉพาะ ปีละ 2 ครั้ง การเก็บคะแนนไว้ใช้ไม่เกิน 3 ปี การใช้คะแนนครั้งที่ดีที่สุด การเลือกได้ไม่เกิน 4 อันดับ 5) นิสิตนักศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัย ทักษิณ ให้ความสําคัญสําหรับเกณฑ์ที่ควรใช้ในอนาคตสอดคล้องกันดังนี้ ลําดับที่ 1 คะแนนการ สอบคัดเลือกรวม ลําดับที่ 2 คะแนนจากแบบทดสอบความถนัดที่เกี่ยวข้องกับคณะที่เลือก และ ลําดับที่ 3 คือ คะแนนจากค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ซึ่งแตกต่างกับนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ให้ความสําคัญของเกณฑ์ที่ควรใช้ในอนาคตเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คะแนนการสอบคัดเลือกรวม คะแนนจากค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม และคะแนนจากแบบทดสอบความ ถนัดที่เกี่ยวข้อง 6) รูปแบบของการสอบคัดเลือกในอนาคต ควรเป็นรูปแบบการคัดเลือกรวมโดยส่วนกลาง โดยใช้เกณฑ์ดังนี้ สอบวัดความรู้ ความถนัดเฉพาะปีละ 2 ครั้ง ใช้ค่าน้ำหนักจากระดับคะแนน เฉลี่ยสะสม และค่าตําแน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์อย่างละ 5% เก็บคะแนนไว้ใช้ไม่เกิน 2 ปี แจ้งผล คะแนนการสอบล่วงหน้า นําคะแนนครั้งที่ดีที่สุดมาพิจารณา การเลือกได้ไม่เกิน 4 อันคับ และไม่ควรตัดสิทธิ์ผู้ที่เคยสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ 7) ข้อเสนอแนะของนิสิตนักศึกษาในเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ ในการทําให้คุณภาพของระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมเท่าเทียมกันจะต้องปรับปรุง 6 ประเด็น คือ คุณภาพแบบทดสอบที่ใช้ในแต่ละโรงเรียน คุณภาพของครู หลักสูตรต้องระบุเนื้อหาให้มีความชัดเจน ผู้บริหารกํากับดูแลการสอน ของครู รัฐต้องจัดสรรงบประมาณสนับสนุนปัจจัยเกื้อหนุนให้เท่าเทียมกันในทุกขนาดโรงเรียน และมีองค์กรควบคุมการทํางานของสถานศึกษาและจัดคุณภาพของสถานศึกษา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก