ค่านิยมเรื่องเพศของนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

วารุณี วงศ์วิเชียร

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.613.951 ว27ค

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่านิยมเรื่องเพศของนักศึกษาสถาบัน ราชภัฏนครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา ว่ามีทิศทางเชิงบวกหรือเชิงลบ และมีรูปแบบประเพณีนิยมแบบกึ่งกลาง หรือแบบสมัยนิยม โดยจําแนกเนื้อหาออกเป็นองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ ความเจริญเติบโตทางสรีระร่างกาย สุขปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ การเสริมสร้างความเจริญสมบูรณ์ทางเพศ การป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ การมีอารมณ์ทางเพศ การระบายอารมณ์ทางเพศ ความสนใจในเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน การคบเพื่อนต่างเพศ การมีนัด การมีแฟนหรือคนรัก บทบาทและการวางตัวของหญิงชาย และการมีเพศสัมพันธ์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิหลังของนักศึกษาด้านเพศ ศาสนา สถาบันที่ศึกษา สาขาวิชาที่ศึกษา ชีวิตสมรสของบิดามารดา อาชีพหลักของบิดามารดา สภาพชีวิตครอบครัวและสภาพการอาศัยอยู่กับทิศทางและรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักศึกษาภาคปกติระดับปริญญาตรี 4 ปี ชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 ของสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช สถาบันราชภัฏสงขลา และสถาบันราชภัฏยะลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 จํานวน 474 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ประเภทสัดส่วนจากจํานวนประชากรทั้งสิ้น 5,698 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองนั้น เป็นแบบวัดค่านิยม เรื่องเพศ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบวัดทิศทางค่านิยมว่าเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ และส่วนที่ 2 เป็นแบบวัดรูปแบบค่านิยมว่าเป็นแบบประเพณีนิยมแบบกึ่งกลาง หรือแบบสมัยนิยม แบบวัด ทั้ง 2 ส่วน มีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 73 และ 62 ตามลําดับ สําหรับการวิเคราะห์ ข้อมูลผู้วิจัยได้วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS for Windows ตาม วัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่า x test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Cramer's V ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 82.9 มีค่านิยมเรื่องเพศเชิงบวก เมื่อพิจารณาองค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่าส่วนใหญ่มีค่านิยมเชิงบวกในด้านชีววิทยา สุขวิทยา และ สังคมวิทยา แต่มีค่านิยมเชิงลบในด้านจิตวิทยา เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อย พบว่าส่วนใหญ่ มีค่านิยมเชิงบวกในเรื่องพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ การเสริมสร้างความเจริญสมบูรณ์ทางเพศ การป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ การมีนัด การมีแฟนหรือคนรัก บทบาทและการวางตัวของหญิงชาย และการมีเพศสัมพันธ์ แต่มีค่านิยมเชิงลบในเรื่องความเจริญเติบโตทางสรีระร่างกาย สุขปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ การมีอารมณ์ทางเพศ การระบายอารมณ์ทางเพศ ความสนใจในเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน และการคบเพื่อนต่างเพศ 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 55.7 มีค่านิยมเรื่องเพศแบบสมัยนิยม ที่เหลือ อีกร้อยละ 44.3 มีค่านิยมแบบกึ่งกลาง และไม่มีผู้ใดมีค่านิยมแบบประเพณีนิยม เมื่อพิจารณา องค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่าส่วนใหญ่มีค่านิยมแบบสมัยนิยมในด้านชีววิทยา สุขวิทยา และ จิตวิทยา แต่มีค่านิยมแบบกึ่งกลางในด้านสังคมวิทยา เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยพบว่า ส่วนใหญ่มีค่านิยมแบบสมัยนิยม ในเรื่องพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ สุขปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ การเสริมสร้างความเจริญสมบูรณ์ทางเพศ การป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ การมีอารมณ์ทางเพศ การระบายอารมณ์ทางเพศ และการคบเพื่อนต่างเพศ แต่มีค่านิยมแบบกึ่งกลาง ในเรื่องความเจริญเติบโตทางสรีระร่างกาย ความสนใจในเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน การมีนัดการมีแฟนหรือคนรัก บทบาทและการวางตัวของชายหญิง และการมีเพศสัมพันธ์ 3. จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิหลังค้าน ต่าง ๆ กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศ พบว่าภูมิหลังด้านเพศ ศาสนา อาชีพหลักของบิดา สภาพการอาศัยอยู่ มีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001, 05, 05 และ 001 ตามลําดับ ส่วนภูมิหลังด้านสถาบันที่ศึกษา สาขาวิชาที่ศึกษา ชีวิตสมรสของบิดามารดา การศึกษาของบิดามารดา อาชีพหลักของมารดา และสภาพชีวิตครอบครัว มีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่าภูมิหลังด้านเพศมีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศด้านชีววิทยาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ภูมิหลังด้านเพศและ ศาสนามีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศด้านสุขวิทยาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 001 และ 05 ตามลําดับ ภูมิหลังด้านศาสนาและสภาพชีวิตครอบครัว มีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศด้านจิตวิทยาอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 05 ตามลําดับ และภูมิหลังด้านเพศ และศาสนา มีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศด้านสังคมวิทยาอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลําดับ 4. จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิหลังด้านต่างๆ กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศ พบว่าภูมิหลังค้านศาสนา สถาบันที่ศึกษา สาขาวิชาที่ศึกษา อาชีพ หลักของมารดา สภาพชีวิตของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .001, 05, .05 และ 01 ตามลําดับ ส่วนภูมิหลังด้านเพศ ชีวิตสมรสของบิดามารดา การศึกษาของบิดามารดา อาชีพหลักของบิดา และสภาพการอาศัยอยู่ มี ความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่าลักษณะภูมิหลังทุกด้านมีความสัมพันธ์ กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศด้านชีววิทยาอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภูมิหลังด้าน ศาสนามีความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศด้านสุขวิทยาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 1.01 ภูมิหลังด้านสถาบันที่ศึกษา มีความสัมพันธ์กับรูปแบบ ค่านิยมเรื่องเพศด้านจิตวิทยา อย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภูมิหลังด้านเพศ ศาสนา และสภาพการอาศัยอยู่มี ความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศด้านสังคมวิทยา อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .05 และ .01 ตามลําดับ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก