บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาและเนื้อหาสาระที่ปรากฏ ในเนื้อร้องเพลงไทยสากลยอดนิยมของวัยรุ่น (พ.ศ.2545) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากการจัดอันดับเพลง ประจําสัปดาห์ สืบค้นข้อมูลที่เว็บไซต์ http:/1365jukebox.Com ในช่วงเดือนมกราคม - ธันวาคม 2545 คัดเลือกเฉพาะเพลงที่มีเนื้อร้องภาษาไทย 10 อันดับแรก รวม 123 เพลง
ผลการวิจัย การวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาของเนื้อเพลง ได้วิเคราะห์ประเด็นการใช้คํา และการใช้โวหารภาพพจน์ด้านการใช้คําได้วิเคราะห์ใน 5 ประเภท คือ การใช้ภาษาปาก ภาษาสแลง ภาษาต่างประเทศ คําซ้อนและคําซ้ำ สรุปได้ว่า เพลงไทยสากลยอดนิยมของวัยรุ่น (พ.ศ.2545 ) มีการ ใช้ภาษาปากมากที่สุดจํานวน 452 คํา คิดเป็นร้อยละ 44.47 ปรากฏในเพลงจํานาน 102 เพลง รองลงมาคือการใช้คําซ้อน มีจํานวน 322 คํา คิดเป็นร้อยละ 30.99 ปรากฏในเพลงจํานวน 106 เพลง ส่วนการใช้คํามี 169 คํา คิดเป็นร้อยละ 16.26 ปรากฏในเพลงจํานวน 69 เพลง ด้านการ ใช้คําภาษาต่างประเทศ มี 2 ลักษณะ คือ การใช้คําทับศัพท์ และการใช้คําภาษาเดิม มี 26 เพลง จํานวน 67 คํา คิดเป็นร้อยละ 6.45 ส่วนคําที่มีใช้น้อยที่สุด คือ ภาษาสแลง มีเพียง 19 คํา คิดเป็น ร้อยละ 1.83 ปรากฏในเพลง 14 เพลง
ประเด็นการใช้โวหารภาพพจน์ พบว่าโวหารแบบปฏิปุจฉา ซึ่งเป็นศิลปะการใช้คําถามที่ไม่ต้องการคําตอบ เช่น ตอบหน่อยได้ไหม มีมากที่สุดจํานวน 261 โวหาร คิดเป็นร้อยละ 64.76 ปรากฏในเพลงจํานวน 87 เพลง รองลงมาเป็นโวหารแบบบุคลาธิษฐาน คือโวหารที่ทําให้ธรรมชาติมีอากัปกิริยาเหมือนมนุษย์ เช่น พระอาทิตย์ตื่นสาย มีจํานวน 62 โวหาร คิดเป็นร้อยละ 15.39 ปรากฏในเพลง 29 เพลง โวหารแบบอุปมา คือการเปรียบเทียบของสองสิ่งในลักษณะเหมือน เช่น เธอเหมือนช่อดอกไม้ มี 48 โวหาร คิดเป็นร้อยละ 11.91 ปรากฏในเพลง 32 เพลง โวหารแบบ อุปลักษณ์เป็นการเปรียบเทียบของสองสิ่งในลักษณะเป็น เช่น เธอคือลมหายใจของ มี 27 โวหาร คิดเป็นร้อยละ 6.70 ปรากฏในเพลง 19 เพลง ส่วนโวหารแบบอติพจน์มีน้อยที่สุดเพียง 5 โวหาร คิดเป็นร้อยละ 1.24 ปรากฏในเพลง 5 เพลง
การวิเคราะห์ด้านเนื้อหาของเพลง พบว่ามีเพลง 119 เพลงจากทั้งหมด 123 เพลง หรือ ร้อยละ 96.75 เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักระหว่างหนุ่มสาว แบ่งเป็นเพลงที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ความผิดหวังจากความรัก เช่น อกหัก รักสามเส้า รักเขาข้างเดียว ฯลฯ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับความ สมหวังจากความรัก เช่น ความสดชื่น ความฝัน ฯลฯ พบว่า เพลงที่เป็นความผิดหวังจากความรักมี จํานวนมากกว่าเพลงที่เป็นความสมหวังจากความรัก คือเพลงที่เป็นความผิดหวังจากความรักมีจํานวน 95 เพลง คิดเป็นร้อย77.23 และเพลงที่เป็นความสมหวังจากความรักมีจํานวน 24 เพลง คิดเป็น ร้อยละ 19.51 เนื้อหาด้านสังคมและวัฒนธรรมมีน้อยเพียง 4 เพลง คิดเป็นร้อยละ 3.25 ส่วน เนื้อหาด้านธรรมชาติไม่ปรากฏว่ามีในเนื้อเพลงไทยสากลยอดนิยมของวัยรุ่นไทย ( พ.ศ.2545 )
|