บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบลวดลายศิลปะ ผ้าบาติกในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) วิเคราะห์ลักษณะเด่นของรูปแบบลวดลายศิลปะผ้าบาติกของแต่ละจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ (3) สํารวจความคิดเห็น เรื่องของการอนุรักษ์รูปแบบลวดลายศิลปะผ้าบาติกในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้างในแนวลึกกับผู้ผลิตและผู้บริโภคผ้าบาติกในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของรูปแบบลวดลายที่ปรากฏเป็นภาพรวมมีรูปแบบลวดลายที่ สวยงามเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวสีสันสดใส ประกอบด้วยรูปแบบลวดลายของดอกไม้ สัตว์ ต้นไม้ ทิวทัศน์ เรขาคณิต ลายไทย และอื่น ๆ ที่ไม่เจาะจงลักษณะของลายเส้นรูปและพื้นเกิด เป็นมิติตามหลักการออกแบบลวดลายและทฤษฎีสี มีลักษณะเด่นของแต่ละจังหวัดคือ จังหวัด สงขลานิยมเขียนรูปแบบลวดลายของดอกกล้วยไม้และปลาใต้ท้องทะเล ลักษณะของลายเส้นรูปและพื้นด้วยเส้นเทียนที่อ่อนช้อย ประกอบด้วยสีสันตามธรรมชาติเกิดมิติการทับซ้อนของสี จังหวัดสตูลนิยมเขียนรูปแบบลวดลายของดอกกาหลง ปลาใต้ท้องทะเล และภาพทิวทัศน์เกาะไข่ เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดโดยการถ่ายทอดรูปแบบจากธรรมชาติเป็นลายเส้นเทียน ใช้เทคนิคการทับซ้อนของสีให้เกิดมิติอ่อนแก่ สีเดียวและหลายสี จังหวัดปัตตานีนิยมเขียนรูปแบบลวดลายของดอก ชบา ดอกบานบุรี ต้นมะพร้าวและภาพทิวทัศน์ เน้นลายเส้นเทียนเป็นหลักลงสีแบน ๆ ให้เกิดรูป และพื้นในส่วนของรูปแบบลวดลายดอกไม้ ต้นมะพร้าวไม่เน้นความเป็นจริงตามธรรมชาติ ส่วน ภาพทิวทัศน์จะถ่ายทอดความเป็นจริงที่มองเห็นเน้นความเหมือนและบรรยากาศของธรรมชาติที่ เป็นงานจิตรกรรมภาพฝาผนังมากกว่างานผลิตภัณฑ์ จังหวัดยะลานิยมเขียนรูปแบบลวดลายของ ดอกศรียะลา ดอกกล้วยไม้ ภาพนกและปลาใต้ท้องทะเล ลักษณะของลายเส้นเทียนลงสีเดียวและหลายสีที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ มีทั้งลวดลายที่เน้นธรรมชาติเป็นหลักและลวดลายดัดแปลงตาม หลักการของการออกแบบลวดลาย รูปและพื้น จังหวัดนราธิวาสนิยมเขียนรูปแบบลวดลายของ ดอกชบา ภาพทิวทัศน์ และลายเรือกอและ ที่เน้นลายเส้นเทียนสีขาวเป็นหลักไม่คํานึงถึงความ เป็นจริงตามธรรมชาติ ลงสีสดใสตามจินตนาการของผู้เขียนเอง ด้านการอนุรักษ์รูปแบบลวดลาย ภาพรวมต้องการที่จะอนุรักษ์และสืบสานให้เป็นศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ดํารงไว้ซึ่งสัญลักษณ์ของ จังหวัดที่ควรค่าแก่การส่งเสริมและพัฒนาให้รูปแบบลวดลายศิลปะผ้าบาติก มีความแปลกใหม่ ตลอดเวลาเป็นที่รู้จักของคนรุ่นหลังเพื่อมิให้สูญหายสืบไป
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ ควรมีการรวบรวมรูปแบบลวดลายผลงานผ้าบาติกของแต่ละ จังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไว้ในศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัด สถาบันการศึกษาเพื่อเป็น แหล่งข้อมูลสําหรับการศึกษาและการตัดสินใจของผู้สนใจงานบาติก บุคคลทั่วไป โดยยึดหลักการ เห็นจริงเป็นรูปธรรม เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานงานบาติกต่อไป
|