การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการใช้ กลบทที่ปรากฏในบทหนังตะลุงของหนังฉิ้น อรมุต ๒) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการใช้คํา ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ปรากฏในบทหนังตะลุงของหนังฉิ้น อรมุต ๓) เพื่อศึกษาภูมิปัญญา การใช้สํานวนไทยที่ปรากฏในบทหนังตะลุงของหนังฉิ้น อรมุต โดยศึกษาจากบทหนัง ตะลุงของหนังฉิ้น อรมุต จํานวน ๘๒ เรื่อง ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
๑) ภูมิปัญญาการใช้กลบทที่ปรากฏในบทหนังตะลุงของหนังฉิ้น อรมุต พบ ว่ามีการใช้กลบทที่หลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหา ๑๖ ชนิด เช่น กลบทกบเต้น ต่อยหอย กลบทนาคบริพันธ์ กลบทสะบัดสะบิ้ง กลอนสี่ กลอนสามห้า กลบทอักษรบริพันธ์ กลบทนาคบริพันธ์แปลง กลบทวัวพันหลักแปลง เป็นต้น
๒) ภูมิปัญญาการใช้คําภาษาไทยถิ่นใต้ พบว่ามีการใช้คําภาษาไทยถิ่นใต้ที่ หลากหลายและเหมาะสมกับบริบทไม่น้อยกว่า ๓๘๒ คํา เช่น แพ้รู้ กุบ เบ็ดหัว เสดสา อ้อร้อ ชับ เปลว ยิก ล่อคอ ยกพาย แหก หวาก หลอน พ่อไอ้หมา คักคู่เดียม แยงตู้ รายมาย หยูมหยาม น้ําบูดู บอง หมังเหม เฒ่าเท่าค่อมือ คลด เป็นต้น
๓) ภูมิปัญญาการใช้สํานวนไทย ที่ปรากฏในบทหนังตะลุงของหนังฉิ้น อรมุต พบว่ามีการใช้สํานวนไทยที่หลากหลาย และเหมาะสมกับบริบทไม่น้อยกว่า ๒๐๓ สํานวน เช่น กงเกวียนกําเกวียน กรวดน้ำคว่ำขัน ข้าวใหม่ปลามัน คมในฝัก งมเข็มในมหาสมุทร ตีวัวกระทบคราด น้ำกลิ้งบนใบบอน งูเห่ากับชาวนา จระเข้ ขวางคลอง จับปลาสองมือ จับนกก่อนโค่นต้นไม้ จับปลายังไม่ได้หัว เป็นต้น
|