การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทสไทย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ฆนัท ธาตุทอง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.371.3 ฆ15ท

รายละเอียด: 

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะทางปัญญาของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ที่ศึกษาในสาขาวิชาเอกที่แตกต่างกัน (2) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทาง ปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ในด้านทักษะทางปัญญาและ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทาง ปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยและชุดสื่อประสมจิตตปัญญาศึกษา ประชากร ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสังกัดคณะครุศาสตร์ ปีการศึกษา 2552 จํานวน 1,200 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักศึกษาสังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ปีการศึกษา 2552 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการเรียนการสอนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) โดยใช้สาขาวิชาเอกเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชั้น จํานวน 7 สาขาวิชาเอก นักศึกษา 1,052 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาเอกที่มีผลการประเมินลักษณะการคิดที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาเอก สังคมศึกษา ชั้นปีที่ 2 จํานวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียน การสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (2) แบบประเมินทักษะทางปัญญา (3) ชุด กิจกรรมประเมินลักษณะการคิด (4) แผนการจัดการเรียนรู้และคู่มือการจัดการเรียนรู้ (5) ชุดสื่อ ประสมและคู่มือการใช้ชุดสื่อประสมจิตตปัญญาศึกษา และ (6) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนและชุดสื่อประสมจิตตปัญญาศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) t-test การวิเคราะห์ความแปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson's product moment correlation) ไค-สแควร์ (Chi-Square) การวิเคราะห์โมเดล สมการ โครงสร้างหรือโมเดลลิสเรล (structural equation model = SEM or linear structural relationship model = LISREL model) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวแปรทั้งหมด 29 คู่ มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จํานวน 29 คู่และมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติจํานวน 16 คู่ โดยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเป็นความสัมพันธ์ทางบวกจํานวน29 คู่ มีขนาดของความสัมพันธ์ตั้งแต่ - 012 ถึง 1992 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ที่อยู่ในตัวแปรแฝง เดียวกัน พบว่า ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนับสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ทักษะทางปัญญาของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X = 4.06) โดย ทักษะทางปัญญาของสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยอยู่ในระดับสูงสุด (X = 4.59 ,SD = 33) ในขณะที่สาขาวิชาเอกสังคมศึกษาเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ําสุด (X = 3.09 , SD = 1.16) และค่าเฉลี่ยของ ทักษะทางปัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกคู่ยกเว้นสาขาวิชาภาษาไทย และสาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ทั่วไปและสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ สาขาการศึกษาปฐมวัยและสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ที่มี ค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ การก 3. โมเดลเชิงสาเหตุรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญา ศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย มี ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบมีค่าไค-สแควร์ = 13.903, ค่าองศาอิสระ (df) = 8, ค่าความน่าจะเป็น (p) = 02137, ดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) = 98, ค่าดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 97, ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกําลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) = .024 และค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (13.903/8) = 1.7385 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบาย ความแปรปรวนของตัวแปรทักษะทางปัญญา ได้ร้อยละ 65 4. ทักษะทางปัญญา ได้รับอิทธิพลจาก ความสามารถในการคิดวิเคราะห์มากกว่า ความสามารถในการแก้ปัญหา และขั้นการจัดระบบความคิดสู่สมองมีอิทธิพลต่อทักษะการคิดมาก ที่สุด และหลังจากใช้รูปแบบการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษามีทักษะทางปัญญาสูงขึ้นกว่าก่อนการ ใช้รูปแบบการเรียนรู้ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ในระดับมาก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย