ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
ยุพดี ธรรมชาติ |
|
สำนักพิมพ์: |
สถาบันราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2546 |
|
เลขหมู่: |
ว.378.17 ย46ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.สร้างแผนการสอนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง 2.เปรียบเทียบผลการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีเรียนแบบร่วมมือกับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีเรียนแบบปกติ 3.ศึกษาพัฒนาการการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีเรียนแบบร่วมมือและวิธีเรียนแบบปกติ 4.ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของกิจกรรม ประโยชน์ที่ได้รับ และการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสงขลา จํานวน 64 คน ซึ่งลุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน แบบการทดลองคือ แบบกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมที่เท่าเทียมกัน วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Equivalent Control Group, Pretest Posttest Design) เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ดัดแปลงจากแบบวัดการเห็น คุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธฉบับโรงเรียน (Coopersmith Self Esteem Inventory-School Form) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมเอสพีเอสเอสสําหรับวินโดว์เวอร์ชั่น 10 (SPSS for window vision 10) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ โดยภาพรวมเห็นคุณค่าในตนเองแตกต่าง จากนักศึกษาที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่เรียน ด้วยวิธีเรียนแบบร่วมมือเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติในทุกรายด้าน โดยเรียงตาม คะแนนเฉลี่ยคือ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านตนโดยทั่วไป 2. นักศึกษาที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือและนักศึกษาที่เรียนโดยการเรียนแบบ ปกติเห็นคุณค่าในตนเองโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 โดยหลังการทดลองกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีเรียนแบบร่วมมือและ กลุ่มที่เรียนโดยการเรียนแบบปกติมีคะแนนเฉลี่ยของการเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นในทุกด้าน 3. นักศึกษาทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเห็นว่า ลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นในการวิจัย ครั้งนี้เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองนั้น เป็นกิจกรรมหลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมี ส่วนร่วม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้ทั้งความรู้ และความสนุกสนาน ผู้เรียนจึงได้รับประโยชน์ ในด้านความรู้ ทักษะความสามารถทั่วไป ทักษะทางสังคม สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการ แก้ปัญหาและดําเนินชีวิตให้เป็นสุข |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|