สภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักรา 2521 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ชวกร จันทร์ทอง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.371.42 ช17ส 2555

รายละเอียด: 

การศึกษาวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำแนกตามตำแหน่งการในทำงาน ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 257 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างผู้บริหาร และครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาโดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ส่วนแบบสอบถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการหาค่าความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาทั้งในภาพรวมและรายด้านทั้งด้านการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงและพัฒนา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำแนกตามตำแหน่งในการทำงาน ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน พบว่าตัวแปรตำแหน่งในการทำงานที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นในเรื่องสภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ข้อเสนอแนะในการบริหารกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่สำคัญในแต่ละด้าน คือ ด้านการวางแผน (Plan) ควรแก้ปัญหาการขาดบุคลากรด้านงานแนะแนวและควรแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานแนะแนวที่เป็นเอกเทศ ด้านการปฏิบัติ (Do) ควรปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ และควรให้ครูทุกคนมีความรู้ในการแนะแนวนักเรียน รวมทั้งมีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมแนะแนวในรูปแบบต่าง ๆ ควรให้มากกว่าเดิมและกระทำอย่างต่อเนื่อง ด้านการตรวจสอบ (Check) ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และมีการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ และด้านการปรับปรุงและพัฒนา (Act) ควรมีการปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมให้ต่อเนื่อง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล อภิปราผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย