ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
สุนทร อรุณโณ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.363.125 ส45ก 2556 |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรในอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง 2) เพื่อศึกษาระดับความรู้เรื่อง กฎจราจรทางถนน ในอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนในอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการสังเกตในการ check list การขับขี่รถจักรยานยนต์และรถยนต์ของประชาชน และ การสนทนากลุ่ม เพื่อสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน สำหรับประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จำนวน 3 ตำบล ซึ่งประกอบด้วย ตำบลโคกสัก ตำบลท่ามะเดื่อ และตำบลนาปะขอ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) เพื่ออธิบายข้อมูลพื้นฐาน สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร และพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน ในพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์ของประชาชนในอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยภาพรวมพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างทุกคนมีพฤติกรรม การควบคุมอารมณ์อยู่ในระดับดีทุกข้อ ในส่วนระดับความรู้กฎจราจรทางถนน ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าคะแนนความรู้ระดับดี เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องเมื่อปรากฏไฟสัญญาณจราจรสีเหลือง ตามกฎหมายระบุว่าผู้ขับขี่จะต้องเตรียมหยุดรถหลังเส้นให้หยุดรถมากที่สุด และมีความรู้ในเรื่องหมวกนิรภัยที่กฎหมายกำหนดมี 2 ประเภท คือ แบบปิดเต็มหน้า และแบบครึ่งใบน้อยที่สุด สำหรับแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน สำหรับการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนในอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ได้แก่ ประชาชน สถานีตำรวจ สถานพยาบาล ผู้นำท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน บริษัทกลางประกันภัย และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยมีแนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุ ดังนี้ คือ ควรให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรักษากฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด มีการตั้งด่านตรวจเป็นประจำ และมีการให้ความรู้ในเรื่องกฎจราจรแก่เยาวชนและประชาชนอย่างต่อเนื่อง |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|