การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วฝักยาวโดยวิธีการตัดยอด ในระบบเกษตรอินทรีย์ สำหรับเกษตรกร ในอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

สุทิวัส ธัญญะอุดร

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.633.38 ส44ก 2555

รายละเอียด: 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปทางสังคม เศรษฐกิจ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาว 2. ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการตัดยอดเพื่อเพิ่มผลผลิตของถั่วฝักยาว ในระบบเกษตรอินทรีย์ 3. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและการยอมรับเทคโนโลยีการตัดยอดเพื่อเพิ่มผลผลิตของถั่วฝักยาวในระบบเกษตรอินทรีย์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาวในเขตพื้นที่ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแปลงสาธิต ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุมากกว่า 47 ปี จบชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-5 คน จำนวนแรงงาน 2-3 คน ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลัก มีพื้นที่ถือครองส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ถือครองของตนเอง รายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรต่อฤดูเฉลี่ย 21,461.54 บาท มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรทั้ง เกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมี เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการอบรมความรู้เทคโนโลยีเกษตรอินทรีย์ทางด้านการทำน้ำหมักชีวภาพจากเกษตรอำเภอ และมีความพึงพอใจต่อผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ ส่วนผลการเปรียบเทียบผลผลิตถั่วฝักยาว น้ำหนัก และความยาวฝัก ที่ปลูกโดยการตัดยอดและไม่ตัดยอดในสภาพ แวดล้อมและการดูแลเดียวกัน กำหนดให้ สิ่งทดลองที่ 1ไม่ตัดยอด (control) สิ่งทดลองที่ 2 ตัดยอดเมื่อมีใบจริง 3ใบ สิ่งทดลองที่ 3 ตัดยอดเมื่อมีใบจริง4 ใบ สิ่งทดลองที่ 4 ตัดยอดเมื่อมีใบจริง 5 ใบ สิ่งทดลองที่ 5 ตัดยอดเมื่อมีใบจริง 6 ใบ เก็บผลผลิตในพื้นที่ปลูก 16 ตารางเมตร ผลปรากฏว่า สิ่งทดลองที่ 4 (ตัดยอดเมื่อมีใบจริง 5 ใบ) และสิ่งทดลองที่ 2 (ตัดยอดเมื่อมีใบจริง 3ใบ) ให้ปริมาณผลผลิตสูงสุด คือ 49.60 และ48.65 กิโลกรัมตามลำดับ ซึ่งมากกว่าสิ่งทดลองที่ 1 (ไม่ตัดยอด ) ถึง 18.50 กิโลกรัม ในขณะที่คุณภาพความยาวฝัก จำนวนฝักใน 500 กรัม ไม่มีความแตกต่างกัน แสดงว่าการปลูกถั่วฝักยาวโดยการตัดยอดเมื่อมีใบจริง 5 และ3 ใบ เป็นวิธีการเพิ่มปริมาณผลผลิตในพื้นที่จำกัดได้ หลังจากการถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาว ปรากฏว่า เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วฝักยาวโดยวิธีการตัดยอดในระบบเกษตรอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.01

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย