การพัฒนาเกาะกระเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

สุวิทย์ ชูรัตน์

สำนักพิมพ์: 

สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2549

เลขหมู่: 

ว.พ.333.72 ส47ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ของเกาะกระตลอดจนสภาพปัญหาการพัฒนาเกาะกระในปัจุบัน 2) ศึกษาบทบาทขององค์กรภาครัฐ และภาคประชานในการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเกาะกระ 3) วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค์ และสาเหตุของปัญหาในการพัฒนาเกาะกระ 4) สังเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกาะกระ 5)สร้างและเสนอแนะยุทธศาสตร์การพัฒนาเกาะกระ ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยที่ผสมผสานกันระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research) ร่วมกับแบบวิเคราะห์ (Analytical Research) ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพมีขั้นตอนการดำเนินการ คือ 1) การศึกาาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และ วิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับเกาะกระ (Key Informant) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จากผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มต่าง ๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่เทปบันทึกเสียง และแบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Inerview Form) ซึ่งมีประเด็นคำถามเกี่ยวกับสถาพทางกายภาพโดยรวม จุดแข็ง ความเป็นไปได้ที่จะพิจรณารวมถึงข้อจำกัดและความเสี่ยงในมุมมองการพัฒนา และ 3) การจัดการประชุมเสวนากลุ่ม โดยใช้เทคนิควิธีกระบวนการระดมความคิดเห็นในการมีส่วนร่วม (Appreciation Influence Contral : AIC) หรือกระบวนการการวางแผนแบบมีส่วนร่วม และนำข้อมูลที่ได้ไปสังเคราะห์ เชื่อมโยงประเด็นการศึกาาข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อนำผลสรุปจากข้อมูลไปวิเคราะห์ และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อไป สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาอย่างเจาะจง จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ แต่กลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาศึกษาในเชิงปริมาณนี้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาเชิงคุณภาพ จำนวน 50 คน จากจำนวนผู้เกี่ยวข้องในแต่ละด้าน ซึ่งเลือกโดยใช้เกณฑ์ที่ต้องเป็นบุคคลที่รู้จักเกาะกระเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง (structured Interview Form) ผลการวิจัย พบว่า 1. เกาะกระมีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาได้ 8 ประเด็น ได้แก่ 1) การพัฒนาเป็นศูนย์ตรวจการณ์ป้องกันการก่อการร้ายในทะเล เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารในทะเลและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล 2) การพัฒนาเป็นฐานส่งกำลังบำรุงในทะเล 3) การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 4) การพัมนาเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน 5) การพัฒนาให้เป็นแหล่งในการศึกษาเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 6) การพัฒนาการอนุรักษ์ปะการังและสัตว์น้ำเพื่อเป็นอุทยานนิเวศน์ทางทะเล 7) การพัฒนาให้เป็นเกาะในฝัน และ 8) การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เกาะกระให้เป็นที่รู้จักคุ้นเคย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บริบทของเกาะกระและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

บทที่ 5 ผลการศึกษาพัฒนาเกาะกระ

บทที่ 6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกาะกระ

บทที่ 7 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข

ภาคผนวก ค

ภาคผนวก ง

ภาคผนวก จ

ภาคผนวก ฉ

ประวัติผู้วิจัย