การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรผู้ใช้น้ำของราษฎรในเขตพื้นที่รับประโยชน์ของโครงการอ่างเก็บน้ำอัยปาโจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

เจริญ สุขุมาลย์

สำนักพิมพ์: 

สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2547

เลขหมู่: 

ว.พ.631.587 จ67ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรผู้ใช้น้ำของราษฎรในเขตพื้นที่รับประโยชน์ของโครงการอ่างเก็บน้ำอัยปาโจ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำที่ได้รับการคัดเลือกมาจากสมาชิก จำนวน 17 คน และราษฎร์ที่อาศัยในเขตพื้นที่รับประโยชน์ของโครงการฯ ที่ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ จำนวน 110 ครัวเรือน ซึ่งได้มาจากการใช้สูตรคำนวณหากลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การสังเกตเชิงลึก การประชุมและการสนทนากลุ่มย่อย ด้วยการบันทึกเทปและการจดบันทึกแล้วนำมาบรรยายเป็นเชิงคุณลักษณะ การสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้างและใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งรูปแบบการบริหารการจัดการองค์กรผู้ใช้น้ำประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ (1) ยุทธศาสตร์การจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ (2) ยุทธศาสตร์การเลือกตั้งคณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำ (3) ยุทธศาสตร์การจัดตั้งเงินกองทุนหมุนเวียนและแต่ละยุทธศาสตร์จะลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ ยุทธศาสตร์การจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ เริ่มจากการประชุมเชิญชวน กรอกแบบฟอร์มใบสมัคร ยื่นใบสมัคร สอบประวัติขึ้นทะเบียนเป็นผู้ใช้น้ำ ร่างกฎระเบียบข้อบังคับและร่างแผนดำเนินงานของกลุ่ม ยุทธศาสตร์การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ เริ่มต้นด้วยการประชุม เสนอชื่อ ยกมือลงคะแนน นับคะแนน ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกและเสนอชื่อต่อนายอำเภอเจ้าของพื้นที่เพื่อลงนามแต่งตั้ง กำหนดภาระหน้าที่ กฎระเบียบและแนวทางบริหารจัดการ และปิดประกาศเพื่อทราบโดยทั่วกัน ยุทธศาสตร์การจัดตั้งเงินกองทุนหมุนเวียน เริ่มด้วยการประชุมชี้แจง แต่งตั้งอนุกรรมการบริหารเงินกองทุุน ร่างระเบียบข้อบังคับ วางแผนการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน เรียกรับเงินจากสมาชิกแรกเข้า เงินบริจาค และรายได้อื่น ๆ รวบรวมเงินเข้าบัญชีเงินฝากกลุ่มสมาชิกผู้ใช้น้ำ ความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กรผู้ใช้น้ำอยู่ที่สามารถรวบรวมราษฎร์ได้จำนวนมากพอคือ 256 คน คิดเป็นร้อยละ 64.63 เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 50 และสมาชิกทุกครัวเรือนยินยอมปฏิบัติภายใต้กฏระเบียบที่วางไว้ สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยการคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต อุทิศตนเพื่อส่วนรวมและมีจำนวนที่เหมาะสม (จำนวน 17 คน) เข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและมีการจัดหาเงินงบประมาณมาใช้ในการบริหารจัดการ ซ่อมแซมแหล่งน้ำเมื่อยามจำเป็นเร่งด่วน ในรูปแบบการก่อตั้งเงินกองทุนอย่างเป็นรูปธรรมและมีความเพียงพอตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงทำให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนส่งผลให้สมาชิกผู้ใช้น้ำได้ใช้น้ำอย่างเพียงพอ ทั่วถึงและช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้สมาชิกเกิดความพึงพอใจต่อกระบวนการบริหารจัดการน้ำของโครงการฯ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 การสร้างยุทธศาสตร์

บทที่ 4 การทดสอบยุทธศาสตร์

บทที่ 5 อภิปรายผลการทดสอบยุทธศาสตร์

บทที่ 6 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข

ภาคผนวก ค

ภาคผนวก ง

ภาคผนวก จ

ภาคผนวก ฉ

ประวัติผู้วิจัย