การศึกษาเชิงประเมินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยระบบใหม่ (เอนทรานซ์ระบบใหม่) ในทัศนะของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เปรมใจ เอื้ออังกูร

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.371.11 ป57ก

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเชิงประเมินการเอนทรานซ์ระบบใหม่ในทัศนะของ นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดโรงเรียน และระดับคะแนนเฉลี่ย สะสมของนักเรียน และศึกษาผลกระทบของการเอนทรานซ์ระบบใหม่ต่อคุณลักษณะการเรียนของนักเรียน พฤติกรรมการสอนของครู และการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2543 จํานวน 413 คน ครูสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จํานวน 357 คน และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 413 คน ใน เขตจังหวัดสงขลาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกการให้ระดับคะแนน แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามด้วยตนเอง และทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรม SPSS/Pe เพื่อหาค่าสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ การทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการเชฟเฟ่ ทดสอบไค-สแคว์ และหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ Kendall s tau -c และทําการวิเคราะห์เนื้อหาในส่วนของความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ สําหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. โดยภาพรวมนักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความเห็นด้วยต่อการเอนทรานซ์ ระบบใหม่ในระดับปานกลาง สําหรับในประเด็นการจัดสอบวัดความรู้ปีละ 2 ครั้ง การแจ้งผลคะแนนสอบล่วงหน้า ก่อนที่จะให้เลือกคณะการให้เลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้ 4 อันดับ จะมีความเห็นสอดคล้องกันว่าเหมาะสมมาก ส่วนในประเด็นการใช้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม และค่าตําแหน่งเปอร์เซ็นไทล์อย่างละ 5% นักเรียน และครู เห็นด้วยในระดับปานกลาง ผู้ปกครองเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณา เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียน จําแนกตามขนาดโรงเรียน และระดับผลการเรียนเฉลี่ยสะสม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของครูจําแนกตามขนาดโรงเรียนพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สําคัญที่ระดับ .05 แต่เมื่อจําแนกตามประสบการณ์การสอน พบว่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ครูซึ่งมีประสบการณ์การสอนมากกว่า 10 ปีจะเห็นด้วยต่อการเอนทรานซ์ระบบใหม่มากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการ สอนต่ำกว่า 10 ปี เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 ที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน และมีนักเรียนในปกครองที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อการเอนทรานซ์ระบบใหม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 2. ขนาดโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม อย่างมีนัย สําคัญที่ระดับ .05 โดยที่ขนาดความสัมพันธ์ จะเป็นไปในทางบวกโดยมีค่าความ สัมพันธ์เท่ากับ 207 เมื่อพิจารณาร้อยละของการได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม พบว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีแนวโน้มการให้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมสูงกว่าโรงเรียนขนาดอื่น ๆ 3. ผลกระทบของการเอนทรานซ์ระบบใหม่มีดังนี้ 3.1 ผลกระทบต่อคุณลักษณะการเรียนของนักเรียน ในทัศนะของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่ามีผลกระทบในทางบวกระดับปานกลางค่อนข้างสูง ในทัศนะของครู และผู้ปกครองเห็นว่ามีผลกระทบในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครองที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน พบว่าทั้งนักเรียน ครู และผู้ปกครองมีความคิดเห็นสอด คล้องกันว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษจะมีผลกระทบเรื่องคุณลักษณะการ เรียนของนักเรียนทางบวก มากกว่าโรงเรียนขนาดอื่นๆ 3.2 มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของครูถึงร้อยละ 93.7 ในด้านการสอน รูปแบบของแบบทดสอบที่ใช้ในโรงเรียน วิธีการให้ระดับคะแนน และงานวิชาการ โดยโรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนแผนการเรียน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก