การศึกษาระบำนาฎยประดิษฐ์พื้นบ้านภาคใต้ : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ราตรี ศรีสุวรรณ

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.793.31 ร24น

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) วิวัฒนาการของระบํานาฏยประดิษฐ์พื้นบ้านภาคใต้ (2) แนวคิดและองค์ประกอบของระบํานาฏยประดิษฐ์พื้นบ้านภาคใต้ (3) แนวทางการพัฒนาระบํา นาฏยประดิษฐ์พื้นบ้านภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาเอกสารและผลงานการประดิษฐ์ท่ารํา ของสถาบันราชภัฏภาคใต้ 5 แห่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 - 2542 จํานวน 40 รายการ เก็บข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 30 คน ผลการวิจัย 1. การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบด้วย การแสดงที่นิยมกลุ่มไทยพุทธ ได้แก่ โนรา หนังตะลุง กลุ่มไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซัมเปง ดาระ และสละ กลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน ได้แก่ นิ้ว และ ไทเก็ก สถาบันราชภัฏสงขลาเป็นสถาบันแห่งแรกที่เปิดสอนวิชาเอกนาฏศิลป์ ระดับปริญญาตรี หลักสูตร ได้กําหนดให้ประดิษฐ์ท่ารํา โดยนําวิถีชีวิต อาชีพ ศิลปวัฒนธรรมกลุ่มไทยพุทธ ไทยมุสลิม มาเป็นแนว คิดหลักในการประดิษฐ์ท่ารํา การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามและดําเนินการสร้างผลงานตามหลักวิชา การ เมื่อสถาบันราชภัฏอื่น ๆ เปิดสอนวิชาเอกนาฏศิลป์ แนวคิดมีความหลากหลายมากขึ้น การเผยแพร่ การแสดงทั้งภายในและภายนอกสถาบัน มีการบันทึกผลงานไว้เป็นเอกสารรูปเล่มและวีดิทัศน์ รูปแบบ การแสดงพัฒนาค่อนข้างน้อย คนตรีแบบไทยพุทธและไทยมุสลิม การแต่งกายมีการพัฒนาค่อนข้างมาก ปัญหาและอุปสรรคขาดผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีในสถาบัน 2. แนวคิดที่นํามาประดิษฐ์ระบํา มีด้านการแสดงที่สืบเนื่องมาจากศิลปาชีพ วัฒนธรรมไทย พุทธ ไทยมุสลิมและไทยเชื้อสายจีน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การผสมผสานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ กีฬาพื้นบ้านและจิตรกรรมประติมากรรม วิธีแสดงมีวิธีการเสนอรูปแบบ 6 รูปแบบ ดนตรีและเพลง ประกอบมีคนตรีพื้นบ้านโนรา หนังตะลุง วงดนตรีรองเง็ง วงปี่พาทย์ วงดนตรีสากล การแต่งกายแบบ ไทยพุทธ ไทยมุสลิม ไทยเชื้อสายจีนและเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ ตามแนวคิดของระบําแต่ละชุด อุปกรณ์ ประกอบมักเป็นภาชนะที่ใช้ประกอบอาชีพต่าง ๆ 3. การพัฒนาระบํานาฏยประดิษฐ์พื้นบ้านภาคใต้ ควรเน้นเอกลักษณ์ด้านอาชีพ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น แหล่งท่องเที่ยว การแสดงสื่อขั้นตอนการทําอาชีพที่ชัดเจน คนตรี พื้นเมืองอาจประสม วงใหม่ เครื่องแต่งกายเหมาะสมกับแนวคิด คงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การสืบทอดและเผยแพร่พร้อมเอกสาร ข้อมูลเพื่อให้ตรงกับต้นแบบของระบ้า ปัญหาและอุปสรรค ด้านงบประมาณผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี ผู้ บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรสนับสนุน ควรมีการจดลิขสิทธิ์เป็นมรดกทรัพย์สินทางปัญญา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก