การวิเคราะห์การประเมินผลการเรียนของนักศึกษา สถาบันราชภัฏสงขลา : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

จิตรนาถ แสงมุกดา

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.371.26 จ34ก

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์การประเมินผลการเรียนของนักศึกษาสถาบันราชภัฏสงขลา โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามการประเมินผลการเรียนในสถาบันราชภัฏสงขลาตอบโดยอาจารย์ผู้สอนจากทุกโปรแกรมวิชาจํานวน 236 คน และข้อมูลระดับคะแนนผลการเรียนของนักศึกษา ปีการศึกษา 2544 จากฝ่ายประมวลผล สถาบันราชภัฏสงขลาได้ข้อค้นพบ ดังนี้ 1. ด้านการเรียนการสอน อาจารย์ได้ชี้แจงแนวการเรียนการสอนแก่นักศึกษามากที่สุด รองลงมาคือ การจัดทำแนวการเรียนการสอนทุกรายวิชาที่สอน และให้การสนับสนุนนักศึกษาได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มและการแก้ปัญหา 2. เครื่องมือวัดผลการเรียนระหว่างเรียน อาจารย์ใช้แบบทดสอบความเรียงและการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาคือ การศึกษาค้นคว้าและเขียนรายงาน ส่วนเครื่องมือวัดผลการเรียนปลายภาค อาจารย์ใช้แบบทดสอบ เลือกตอบมากที่สุด รองลงมาคือ แบบทดสอบความเรียง และแบบทดสอบเขียนตอบสั้น ๆ การสร้างและพัฒนา เครื่องมือวัดผล อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้องของการเฉลยคําตอบมากที่สุด รองลงมาคือ ศึกษาวัตถุประสงค์ ของหลักสูตร ศึกษาวัตถุประสงค์ของบทเรียนแต่ละบท และวิเคราะห์เนื้อหา ตามลําดับ อาจารย์ส่วนใหญ่ไม่ได้ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 3. คะแนนจากการวัดผลการเรียน อาจารย์พิจารณาจากคะแนนสอบย่อยมากที่สุด รองลงมา คือ การ ปฏิบัติงาน การรายงานหรือการบ้าน และการร่วมกิจกรรมในการเรียนการสอน ตามลําดับ 4. วิชาทฤษฎี อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้สัดส่วนของคะแนนระหว่างเรียนต่อคะแนนปลายภาคเป็นแบบ 60 : 40 ส่วน วิชาปฏิบัติ และวิชาทฤษฎีและปฏิบัติเป็นแบบ 70 : 30 เกณฑ์การประเมินและการให้ระดับคะแนน อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์ของสถาบันราชภัฏสงขลา 5. การกระจายของระดับคะแนนในหมวดวิชาเฉพาะด้านและหมวดวิชาเลือกเสรี แต่ละโปรแกรมวิชาและแต่ละคณะ การกระจายของระดับคะแนนในวิชาปฏิบัติกระจายน้อยกว่าวิชาทฤษฎี และวิชาทฤษฎีและปฏิบัติ ในหมวด วิชาการศึกษาทั่วไป การกระจายของระดับคะแนนของแต่ละรายวิชาในกลุ่มวิชาเดียวกันมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นส่วนใหญ่ ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อให้การประเมินผลมีคุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน สถาบันและอาจารย์ผู้สอนควรได้ร่วมกันกําหนดแนวปฏิบัติและมีการนําเสนอข้อมูลย้อนกลับแก่อาจารย์ทุกภาคการศึกษาเพื่อให้เห็นภาพ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น นําเสนอเป็นกราฟ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย