การศึกษาสภาพการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา) : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อังคณา ธรรมสัจการ, สถาบันราชภัฏสงขลา

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

จากนโยบายการขจัดปัญหาความยากจน รัฐบาลได้กําหนดแผนงานพัฒนาที่เป็นรูปธรรม คือ แผนงาน “หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (One Tambon One Product) เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมี ความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขึ้นตามความถนัดและความเหมาะสมในแต่ละชุมชน โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็น เอกลักษณ์ของตนเอง ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจําหน่ายในตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหลักการพื้นฐาน 3 ประการคือ 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local Yet Gobal) ผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ภูมิปัญญาและ วัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล 2) พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance Creativity) ทําความฝันให้เป็นความจริงด้วย กระบวนการหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยสร้างกิจกรรมที่อาศัยศักยภาพของท้องถิ่น 3) การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) ฟูมฟักประชาชนให้สู้ชีวิตด้วย ความท้าทายและจิตวิญญาณแห่งการสร้างสรรค์ ในขณะที่ทุกชุมชนให้ความสนใจแผนงานนี้ดลอดจนรัฐบาลได้สนับสนุนในหลายๆ ส่วน ทั้งกระบวนการคิด พัฒนา ส่งเสริมด้านการลงทุน การตลาดเพื่อให้โครงการนี้บรรลุผล 3 ประการข้างต้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาสภาพการดําเนินธุรกิจของสินค้าหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือกระดับประเทศ ในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 9 กลุ่ม โดย ศึกษาจากแบบสอบถามตามเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ของคณะอนุกรรมการกําหนดมาตรฐาน วัดด้านตัวสินค้าและด้านความเข้มแข็งของชุมชน และแบบสัมภาษณ์เพื่อ ศึกษาเชิงคุณภาพสภาพการดําเนินธุรกิจ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของแต่ละประเภท ผลิตภัณฑ์ มาวิเคราะห์โดยเทคนิค SWOT Analysis พบว่า การเกิดของสินค้าหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทุกกลุ่มการก่อตั้งมีมา ก่อนจะมีแผนงานของรัฐบาล โดยมีอายุของกลุ่มประมาณ 4 - 26 ปี ส่วนใหญ่ทุนก่อตั้งมาจาก ส่วนราชการ เริ่มจากจํานวนสมาชิกประมาณ 10 – 30 คน จนปัจจุบันมีประมาณ 25 – 60 คน กลุ่มที่มีขนาดใหญ่มีจํานวน 140 คน เมื่อเกิดสินค้าหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ขึ้น ชุมชนได้ประโยชน์คือ มีการเข้ามาพัฒนาทักษะฝีมือ คุณภาพของสินค้า การสนับสนุนจากทางราชการใน การผลิต การตลาด เครื่องจักร อุปกรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้เสริมให้กับ ชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ พบปะของคนในชุมชน ทางด้านสินค้า หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ มีกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ เป็นงานหัตถกรรม อาศัยแรงงานคนเป็นสําคัญ โดยวัตถุดิบหาได้จากท้องถิ่นใกล้เคียงมีราคาไม่สูงมาก กระบวนการจัดจําหน่าย พบว่าจัดจําหน่ายผ่านงานแสดงสินค้าของทางราชการเป็นส่วนมาก และพ่อค้าคนกลางที่อาจจะเห็นสินค้าจากการแสดงสินค้า หรือบางกลุ่มก็ตามมาซื้อ สั่งผลิตที่ กลุ่ม มีการส่งออกไม่มาก โดยส่งออกไปจําหน่ายประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น การกําหนดราคาสินค้าจากคุณภาพของสินค้า และค่าใช้จ่ายในการผลิตราคาไม่สูงมาก ทางด้านการดําเนินธุรกิจ ปัจจัยภายใน (1) จุดแข็ง ด้านทักษะฝีมือ ลูกค้าเชื่อมั่นคุณภาพ ส่วนราชการให้การสนับสนุน มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ การเจริญเติบโต เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (2) จุดอ่อน รูปแบบผลิตภัณฑ์มีการลอกเลียนแบบแข่งขันกัน ขาดการวิจัยพัฒนาด้านการบริหารจัดการ ทั้งการผลิต การตลาดและการเงิน การประชาสัมพันธ์ไม่ ทั่วถึงส่วนใหญ่เป็นปากต่อปาก หน่วยงานราชการ ขาดการนําข้อมูลสารสนเทศที่มีมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ และปัจจัยภายนอก (3) โอกาส ในการนําภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล สามารถจําหน่าย ได้ทั้งภายในและนอกประเทศ มีหน่วยงานทั้งทางราชการและเอกชนสนับสนุน วัตถุดิบหลักส่วน ใหญ่มีในท้องถิ่นหาได้ง่าย (4) อุปสรรค ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทั้ง ต้านการตลาด การผลิตและเครือข่าย แข่งขันกันเอง วัตถุดิบมีปัญหาในบางฤดูกาล เช่น เกิด เชื้อราในฤดูฝน เป็นต้น บางขั้นตอนของกระบวนการผลิตเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จากการศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์หากจะมีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ที่กลุ่มจะ นําไปเพิ่มศักยภาพของกลุ่ม ในแง่จิตสํานึกสาธารณะ การพัฒนาแบบยั่งยืน ส่วนทางด้านการดําเนิน ธุรกิจควรเสริมด้านการบริหารจัดการทางด้านคุณภาพการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ และทางการตลาดที่จะเป็นไปในเชิงรุกมากกว่าในปัจจุบัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ลักษณะพื้นที่ของการศึกษา

บทที่ 5 การวิเคราะห์หน่วยผลิตและจำหน่าย

บทที่ 6 การก่อตั้งและระบบการจัดการ

บทที่ 7 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

บทที่ 8 บทสรุป

ภาคผนวก