ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : ศึกษากรณีการเรียนวิชาบัญชีของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุพยอม นาจันทร์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.378.3 ส46ค

รายละเอียด: 

การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน: กรณีศึกษาการ เรียนวิชาบัญชีของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีวัตถุประสงค์3ประการคือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวทางวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับเพื่อนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) เพื่อนํา ผลการวิจัยมาปรับปรุงการเรียนการสอน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักศึกษาภาคปกติสาขาการบัญชี ระดับปริญญาตรี 4 ปี ชั้นปีที่ 3 (รุ่นเข้าเรียนปีการศึกษา 2549) จํานวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนักศึกษา ตอนที่ 2 การปรับตัว ทางวิชาการ และตอนที่ 3 การปรับตัวกับเพื่อน ผลการศึกษาพบว่า พื้นฐานการศึกษา เกรดเฉลี่ยในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือเทียบเท่า รวมทั้งที่พักอาศัยในระหว่างเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ไม่มีผลต่อระดับคะแนนการเรียนวิชาบัญชี นอกจากนี้ระดับของการปรับตัวกับเพื่อนก็ไม่มีผลต่อระดับคะแนนการเรียนวิชาบัญชีเช่นเดียวกัน สําหรับระดับการปรับตัวทางวิชาการพบว่า มีผลโดยตรงต่อระดับคะแนนการเรียนวิชาบัญชี นักศึกษามีระดับการปรับตัวทางวิชาในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ การส่งเสริมให้นักศึกษามีการปรับตัวทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผลการเรียนวิชาบัญชีของนักศึกษาดีขึ้น ได้แก่ การเตรียมตัวด้านเนื้อหาก่อนเข้าชั้นเรียน การค้นคว้าอยู่เสมอ การใช้เวลาว่างในการอ่านตําราเรียน การค้นคว้าตามคําแนะนําของผู้สอน การปรับตัวให้เข้ากับวิธีการสอน ความไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียน การไม่รู้สึกว่าเรียนหนักเกินไป การมีความสุขกับการเรียน ความสามารถในการฟังการบรรยายนาน ๆ ส่วนการวางแผนการเรียนล่วงหน้า การติดตามการบรรยายตลอดเวลา การเตรียมตัวสอบ การแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรมของคณะ นักศึกษาสามารถปรับตัวได้ในระดับดีมากอยู่แล้ว นักศึกษาจึงควรคงส่วนนี้เอาไว้ อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา ควรให้คําแนะนําแก่นักศึกษาเพื่อยกระดับผลการเรียนวิชาบัญชีให้ดีขึ้น เมื่อผลการเรียนดีขึ้น ปัญหาการพ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษาเนื่องจากเกรดเฉลี่ยสะสมต่ํากว่าเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกําหนด หรือบางคนอาจจะหมดกําลังใจถึงกับเปลี่ยนสาขาที่เรียนใหม่ หรือถึงขั้นลาออก ก็จะลดลงหรือหมดไปได้ในที่สุด สุดท้ายผู้วิจัยขอเสนอแนะประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียนวิชา บัญชีไว้ 3 ประการ ดังนี้ 1. ผู้สอนต้องชี้แจงให้ผู้เรียนทราบถึงวิธีการเรียนในระดับอุดมศึกษาซึ่งแตกต่างกับการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เนื่องจากผู้เรียนจะต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะการเรียนสาขาการบัญชี การทําแบบฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นเรื่องสําคัญที่สุด ครูไม่ใช่ผู้ป้อน แต่ครูจะเป็นเพียงผู้ชี้แนะเท่านั้น การปรับตัวให้เข้ากับวิธีการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่สําคัญอย่างยิ่ง 2. ผู้สอนควรมีเทคนิคการสอนที่จะทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าการเรียนวิชาบัญชีไม่ใช่เป็นเรื่องยากอย่างที่คิด ควรออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยในครั้งนี้คือ นักศึกษาไม่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับเพื่อน เพื่อนสอนเพื่อน นักศึกษาจะรู้สึกผ่อนคลายมากกว่าการเรียนกับอาจารย์ผู้สอนในชั้นเรียน กล้าถามเพื่อนมากกว่าถามอาจารย์ 3. ผู้สอนควรให้คําแนะนําชี้แจง แก่ผู้เรียนให้ทราบว่าการปรับตัวทั้งทางวิชาการคือวิธีการเรียนการสอน และการปรับตัวต่อเพื่อน ๆ มีความจําเป็นมากในการเรียนระดับอุดมศึกษาให้ประสบความสําเร็จ การปรับตัวได้ดีจะส่งผลในเชิงบวกต่อการเรียน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดในการวิจัย

บทที่3 ระเบียบวิธีการวิจัย

บทที่4 ผลการศึกษา

บทที่5 สรุปและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก