การพัฒนาเศรษฐกิจกับการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักศึกษาปริญญาตรี

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุธีรา เดชนครินทร์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.378.593 ส44ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาทิศทาง ความต้องการเลือกอาชีพ ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (2) เพื่อศึกษาโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม กับการจ้างงาน (3) เพื่อศึกษาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และ (4) เพื่อวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการเลือกอาชีพของนักศึกษา โครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการ จ้างงาน และหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษา ระดับปริญญา ตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จํานวน 375 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ร่วมวิเคราะห์กับข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมได้จากเอกสารทางวิชาการและทางสื่ออินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาเศรษฐกิจและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผลการวิจัย พบว่า 1. สาขาอาชีพที่นักศึกษาต้องการประกอบหลังจากสําเร็จการศึกษามากที่สุด ได้แก่ สาขา อาชีพทางด้านการศึกษา รองลงมา คือสาขาอาชีพทางด้านตัวกลางทางการเงิน โรงแรม และ ภัตตาคาร ตามลําดับ โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักศึกษา ระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้แก่ เพศ คณะที่ศึกษา และลักษณะองค์กรที่ผู้ปกครองทํางาน และปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพ ได้แก่ ปัจจัยด้าน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ปัจจัยด้านความมั่นคง และปัจจัยด้านโอกาสในการแสดงความรู้ ความสามารถและโอกาสในการพัฒนาตน 2. แนวโน้มการจ้างงานในแต่ละสาขาอาชีพมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องเกือบทุกสาขา อาชีพ โดยศึกษาจากการวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้และการวิเคราะห์ Business Portfolio ด้วย BCG Matrix 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลามี 7 คณะ มีหลักสูตรที่เปิดสอนสรุปได้ดังนี้ (1) คณะ วิทยาการจัดการมี 8 หลักสูตร (2 ) คณะครุศาสตร์มี 6 หลักสูตร (3) คณะเทคโนโลยีการเกษตรมี 4 หลักสูตร (4) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มี 2 หลักสูตร (5) คณะศิลปกรรมศาสตร์มี 3 หลักสูตร (6) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมี 4 หลักสูตร และ (7) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มี 11 หลักสูตร 4. หลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา โดยหลักสูตรส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้และ การวิเคราะห์ Business Portfolio ด้วย BCG Matrix และนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเลือกประกอบอาชีพได้สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ และการวิเคราะห์ Business Portfolio ด้วย BCG Matrix

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 แนวคิดทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 ระเบียบวิธีการวิจัย

บทที่4 ผลการศึกษา

บทที่5 สรุป ข้อเสนอแนะ และการนำผลการวิจัยไปใช้

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย