อิทธิพลของพฤติกรรมการเรียนต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน : กรณีศึกษาการเรียนวิชาบัญชีของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุพยอม นาจันทร์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.378.3 ส46อ

รายละเอียด: 

การวิจัยเรื่อง อิทธิพลของพฤติกรรมการเรียนต่อสัมฤทธิผลการเรียน: กรณีศึกษาการเรียน วิชาบัญชีของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนวิชาบัญชีของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ และเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมดังกล่าวกับสัมฤทธิผลของการเรียน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนวิชาบัญชี ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อวิชาบัญชี และภูมิหลังของผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักศึกษาภาคปกติระดับปริญญาตรี 4 ปี ชั้นปีที่ 2 (รุ่นเข้า เรียนปีการศึกษา 2549) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ 114 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการ รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนักศึกษา ตอนที่ 2 ทัศนคติที่มีต่อวิชาบัญชี และตอนที่ 3 พฤติกรรมการเรียนวิชาบัญชีของนักศึกษา ผลการศึกษาด้านทัศนคติพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า วิชาบัญชีเป็นวิชาที่มี เนื้อหาซับซ้อนเข้าใจยาก เรียนยากเนื่องจากไม่มีพื้นฐานมาก่อน แต่ยอมรับว่ามีประโยชน์ในชีวิตประจําวัน และมีประโยชน์ต่อการทํางาน ส่วนพฤติกรรมการเรียนวิชาบัญชี พบว่านักศึกษาส่วน ใหญ่มีพฤติกรรมการถามอาจารย์ การตอบคําถามอาจารย์ในชั้นเรียน การใช้เวลาในมหาวิทยาลัยที่ พักทบทวนบทเรียนด้วยตนเอง หรือกับเพื่อน ๆ การสอบถามเนื้อหาจากผู้สอนนอกเวลาเรียน จะมี พฤติกรรมไม่สม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่อง แต่พฤติกรรมที่ทําอย่างสม่ำเสมอคือทบทวนแบบฝึกหัดร่วมกับ เพื่อน ๆ ก่อนสอบ สุดท้ายผู้วิจัยขอเสนอแนะประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียนวิชา บัญชีไว้ 3 ประการ ดังนี้ 1. การให้กําลังใจ และการเอาใจใส่ดูแลของผู้สอน จะทําให้ผู้เรียนเกิดกําลังใจที่จะเรียนวิชาบัญชีให้ประสบความสําเร็จ เนื่องจากผู้เรียนเห็นว่าวิชาบัญชีมีประโยชน์เมื่อจบออกไปทํางาน ซึ่งเป็นทัศนคติในเชิงบวกอยู่แล้ว หากมีแรงเสริม ก็จะทําให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จ 2. ผู้สอนควรออกแบบการเรียนการสอนให้นักศึกษาช่วยกันทํางานเป็นกลุ่ม โดยให้คนที่รู้สอนคนที่ไม่รู้จะเป็นประโยชน์มากกว่าให้อาจารย์เป็นผู้สอนแต่เพียงอย่างเดียว เพราะ พฤติกรรมของนักศึกษาที่เรียนไม่เข้าใจส่วนใหญ่จะไม่กล้าถามอาจารย์ หรืออาจถามไม่เป็น ในขณะ ที่กล้าถามจากเพื่อน 3. ผู้สอนต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนทราบว่า ความสําเร็จในการเรียนวิชาบัญชีเกิดจากการฝึก ปฏิบัติ หรือการฝึกทักษะในการทําแบบฝึกหัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ การเรียนบัญชีไม่ได้อาศัย การท่องจํา ดังนั้น การทําแบบฝึกหัดด้วยตนเอง หรือกับเพื่อนทั้งที่มหาวิทยาลัย และที่พัก จึงเป็นเรื่อง สําคัญที่สุด 4. เพื่อให้การเรียนเกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุด ผู้เรียนควรจะทําความเข้าใจมาคร่าว ๆ ก่อนที่จะเรียน ตั้งใจ มีสมาธิในระหว่างอาจารย์สอน และพยายามทําแบบฝึกหัดในเรื่องนั้น ๆ ให้มาก ที่สุด หลังจากหมดเวลาเรียน และควรทําความเข้าใจให้ได้ก่อนที่จะเรียนเรื่องใหม่ในสัปดาห์ต่อไป เนื่องจากเนื้อหาของวิชาบัญชีโดยเฉพาะบัญชี 1 จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด และเป็น บัญชีพื้นฐานของบัญชีอื่น ๆ ด้วย 5. ผู้เรียนไม่ควรขาดเรียน หรือเข้าเรียนสายเนื่องจากจะขาดความต่อเนื่อง หากมีความ จําเป็น จะต้องติดตามจากเพื่อนหรืออาจารย์ให้เร็วที่สุด 6. ผู้สอนควรมีเทคนิคการสอนที่จะทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าบัญชีไม่ได้เป็นเรื่อง ยากอย่างที่คิด โดยอาจออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน หรือการจัดเป็นฐาน เรียนรู้ในหัวข้อต่างๆ เป็นต้น 4 .2 7. ผู้สอนควรมีการทดสอบย่อย และแจ้งผลให้ผู้เรียนทราบเป็นระยะ ๆ เพื่อกระตุ้นให้ ผู้เรียนพัฒนาตนเอง 8. การกําหนดจํานวนหน่วยกิตและเวลาเรียน ควรกําหนดเวลาในการศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเองไว้ด้วย เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เห็นความสําคัญของการค้นคว้า ทําแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วย ตนเอง เช่น 3(2-2-5) ซึ่งหมายถึง เป็นวิชาที่มีหน่วยกิต 3 หน่วยกิต เป็นการบรรยาย 2 คาบ ฝึกปฏิบัติ ในชั้นเรียน 2 คาบ และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 5 คาบ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 ระเบียบวิธีการวิจัย

บทที่4 ผลการศึกษา

บทที่5 สรุปและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก