การศึกษาเรื่องชุมชนของตนเองของผู้เรียนภาษาต่างประเทศ : กรณีศึกษา - นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ สถาบันราชภัฏสงขลา : รางงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เพียงใจ ผลโภค

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2545

เลขหมู่: 

ว.420.72 พ612ก

รายละเอียด: 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ ศึกษาการเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนของตนเองของนักศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจและโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ควรเรียนรู้ในชุมชนของผู้ที่มีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดสงขลา เพื่อหาสาระที่ควรนํามาจัดเตรียมเป็นเนื้อหาการเรียนการสอนเรื่องของท้องถิ่นในชั้นเรียนภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สําหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ในสถาบันราชภัฏสงขลา การเก็บข้อมูลใช้การเก็บข้อมูลจากบุคคลสองกลุ่ม คือ นักศึกษาและประชาชนในท้องถิ่น ด้วยการให้ตอบแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ กลุ่มนักศึกษาเป็นผู้ที่เรียนรายวิชา วัฒนธรรมไทยศึกษา (Thai Studies) ในเทอมที่ 1 ของปีการศึกษา 2544 คือ นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์ โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่4 และเป็นผู้ที่เกิดและมีที่อยู่ถาวรปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสงขลา รวมทั้งหมด จํานวน 32 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่อยู่ในท้องถิ่น คือ ผู้นําท้องถิ่น และผู้มีภูมิลําเนาหรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในเขต จังหวัดสงขลา จํานวน 60 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สําหรับ ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นปลายเปิด ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง จากรายวิชาในกลุ่มสังคมมากกว่าจากกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ ในขณะที่นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ (ศิลปศาสตร์) ได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองจากกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ 2. นักศึกษามีความเห็นว่า เนื้อหาที่เรียนเกี่ยวกับท้องถิ่นมีประโยชน์แต่มิใช่สิ่งที่สําคัญที่สุด โดยที่นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจเห็นประโยชน์ว่าความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นมีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว 3. นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับชุมชนของตนเองในด้านประวัติและตํานาน แต่มีความรู้น้อยในด้านอาชีพของคนในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และไม่สามารถบอกได้ว่าบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ในชุมชนของตนเองนั้น ใครคือบุคคลที่ควรแก่การยกย่อง 4. นักศึกษาต้องการภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับท้องถิ่นเพื่อการใช้แนะนําสถานที่และบรรยายเรื่องในท้องถิ่น ในขณะที่คนในท้องถิ่นเองคาดหวังให้ไปช่วยสอนเด็กในชุมชนมากกว่า 5. เรื่องของท้องถิ่นที่นักศึกษาต้องการนําเสนอคือสถานที่ท่องเที่ยว แต่คน ในชุมชนเองต้องการให้นําเสนอเรื่องของความเป็นอยู่ที่มีความสามัคคีและช่วยเหลือ เกื้อกูลกันมากกว่า รวมถึงเรื่องของผู้นําของชุมชน สภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วไป 6. การเรียนเรื่องของท้องถิ่น นักศึกษามีปัญหาด้านคําศัพท์มากที่สุด และยังต้องการโอกาสที่จะได้ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง ผู้สอนจึงควรจัดให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการใช้ภาษา โดยเฉพาะการพูดเรื่องของชุมชนของตนเอง เพื่อได้ฝึกทั้งทักษะการใช้ภาษาในสถานการณ์จริงและพัฒนาความเชื่อมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษ ด้วยการเริ่มพูดถึงสิ่งใกล้ตัวเอง โดยที่ผู้สอนช่วยเหลือด้านคําศัพท์ตามที่นักศึกษาต้องการ 7. ผู้ให้ข้อมูลที่อยู่ในเขตจังหวัดสงขลา เห็นว่าภาษาอังกฤษสําคัญที่สุด แต่ภาษาอื่นๆที่จําเป็นด้วยเช่นกัน คือ จีน ญี่ปุ่น มลายู มลายูท้องถิ่น อาหรับ ฝรั่งเศส และเยอรมัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 ระเบียบวิธีการวิจัย

บทที่4 ผลการวิจัย

บทที่5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย