ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
ธีระทัศน์ ศิริมุสิกะ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2555 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.371.2 ธ37ก 2555 |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานกิจการนักศึกษาในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักศึกษาในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา ของผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ทำงาน และประสบการณ์ในการศึกษาอบรมเกี่ยวกับสารเสพติดที่แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา และ 4) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา ระหว่างนักศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การใช้สารเสพติด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 216 คน นักศึกษา จำนวน 261 คน จากสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครู 2) แบบสอบถามสำหรับนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารกิจการนักศึกษาในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านการสำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหา กับด้านการวางแผนและเตรียมการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดรองลงมาคือด้านการดำเนินการตามแผน ด้านการวิเคราะห์และกำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา และด้านการประเมินผลตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักศึกษาในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษาโดยจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์ในการศึกษาอบรมเกี่ยวกับสารเสพติด พบว่า โดยรวมผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานกิจการนักศึกษาในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ในการศึกษาอบรมเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานกิจการนักศึกษาในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษาพบว่า มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเสพติด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้ทักษะปฏิเสธมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การหลีกเลี่ยงการคบเพื่อนที่เสี่ยงต่อการนำพาไปเสพยาเสพติด และการหลีกเลี่ยงสารเริ่มต้น 4) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเสพติดของนักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การใช้สารเสพติด พบว่า นักศึกษาที่มีเพศและประสบการณ์การเสพสารติดต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเสพติดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับนักศึกษาที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเสพติดไม่แตกต่างกัน |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|