แนวทางการป้องกันตนเองของประชาชนในการลดสภาวะเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

สมศักดิ์ ปลอดทองสม

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2553

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการป้องกันตนเองในการลดสภาวะเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ทุกคนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วยความร่วมมือจากประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ใช้วิธีการ เชิงคุณภาพในการศึกษา ได้แก่ การศึกษาเอกสาร (content analysis) การสังเกต (observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (semi structured in-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 30 คน ที่ถูกเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง 3 กลุ่มคือ (1) ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง (2) เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ และ (3) องค์กรภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ โดยทำการศึกษาในพื้นที่ 4 ชุมชน ใน 3 ตำบลที่ล่อแหลมต่อการเสี่ยงภัยที่อยู่ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา คือ (1) ชุมชนเก้าเส้ง (2) ชุมชนเตาอิฐ (ตำบลบ่อยาง) (3) ชุมชนทุ่งหวัง (ตำบลทุ่งหวัง) และ (4) ชุมชนพะวง (ตำบลพะวง) มีระยะเวลาการศึกษาระหว่างปีพ.ศ. 2551 -2552 ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ดังกล่าวในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลาได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีหลักฐานปรากฏชัดว่าเหยื่อที่ได้รับความรุนแรงในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น ประชาชนต่างต้องช่วยเหลือร่วมมือกันหาทางป้องกันแก้ไข โดยแนวทางป้องกันตนเองเพื่อลดสภาวะเสี่ยงภัยที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเสนอแนะมีทั้งหมด 17 แนวทาง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแนวคิดการป้องกันตนเองโดยอาศัยพึ่งพาปัจจัยภายในและกลุ่มแนวคิดการป้องกันตนเองโดยอาศัยพึ่งพาปัจจัยภายนอก ทั้งนี้สามารถสรุปได้เป็น 5 ยุทธศาสตร์ คือ (1) ยุทธศาสตร์การสร้างความตื่นตัว (2) ยุทธศาสตร์การสร้างชุมชนเข้มแข็งโดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม (3) ยุทธศาสตร์การสร้างครอบครัวอบอุ่น (4) ยุทธศาสตร์การปลูกฝังคุณธรรมให้กับเยาวชน และ (5) ยุทธศาสตร์การสร้างความปลอดภัยให้กับชุมชน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 บริบทชุมชนและการเกิดสภาวะเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทที่5 สรุป อภิปรายผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย