ส้มแขกกับวิวัฒนาการกลุ่มของชุมชนอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

อุรารัตน์ ช้างนรินทร์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.พ.338.642 อ47ส

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงวิวัฒนาการของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ส้มแขก 2) ศึกษาถึงกระบวนการดำรงอยู่ของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ส้มแขก 3) หาแนวทางการพัฒนากลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ส้มแขก เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีเลือกเจาะจง 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้รู้ ได้แก่ คณะกรรมการชุมชน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ เอกชน และบุคคลอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยจำนวน 9 คน และสมาชิกกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ส้มแขก จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการบรรยายเชิงวิเคราะห์ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ส้มแขกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับส้มแขกราคาตกต่ำ โดยเป็นการปรับเปลี่ยนจากการจำหน่ายส้มแขกดิบมาเป็นการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส้มแขกแล้วจำหน่าย การดำเนินการระยะแรกเป็นการผลิตตามกรรมวิธีพื้นบ้านที่สืบทอดต่อกันมา จากนั้น มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุนส่งผลให้กลุ่มมีการพัฒนาขึ้นอย่างเด่นชัดจนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานหลายสถาบัน อีกทั้งทางกลุ่มได้มีการนำระบบบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ได้แก่ การจัดองค์กร การบริหารงานบุคคล การบริหารการเงิน การบริหารการผลิตและการบริหารการตลาดซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้กลุ่มสามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคง แนวทางการพัฒนากลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ส้มแขก ผลการวิจัยพบว่า ควรพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐาน มีการสับเปลี่ยนหน้าที่รับผิดชอบของสมาชิก ควรจัดการรวมกลุ่มผู้ปลูกส้มแขกในพื้นที่ ควรนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และควรมี การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้กระจายในวงกว้าง ครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภคให้มากที่สุด

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 ระเบียบวิธีการวิจัย

บทที่4 ความเป็นมาและสภาพทั่วไปของชุมชน

บทที่5 วิวัฒนาการและการดำรงอยู่ของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ส้มแขก

บทที่6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย