สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

รดา ธรรมพูนพิสัย

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.พ.371.9 ร14ส

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมตามตัวแปร ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ขนาดโรงเรียน ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาพิเศษและประสบการณ์การทำงานด้านการศึกษาพิเศษของผู้ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้จำนวน 473 คนประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 66 คน ครูวิชาการจำนวน 66 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 66 คน ครูผู้สอนจำนวน 275 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากด้านที่มีปัญหามากไปหาน้อย คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนด้านนักเรียน ด้านเครื่องมือ และด้านสภาพแวดล้อม 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมระหว่างผู้บริหาร โรงเรียน และครูที่มีตำแหน่งระดับการศึกษา ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาพิเศษ และขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมไม่แตกต่างกัน ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการศึกษาพิเศษน้อยกว่า 1 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา การจัดการเรียนร่วมด้านสภาพแวดล้อม แตกต่างจากผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการศึกษาพิเศษ 1-5 ปี และ 10 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสบการณ์อื่น ๆไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมพบว่า3.1) ด้านนักเรียน ควรส่งเสริมนักเรียนทั่วไปให้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษผู้บริหารควรให้ความสำคัญ สร้างความตระหนัก สร้างเจตคติที่ดี ให้ขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียนในการปฏิบัติงานด้านการเรียนร่วม โรงเรียนควรสร้างความสัมพันธ์และพบปะผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอเพื่อความร่วมมือในการช่วยเหลือ ดูแล บุตรหลาน 3.2) ด้านสภาพแวดล้อม จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน รวมทั้งห้องปฏิบัติการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ จัดให้มีการปรับหลักสูตร มีการประเมินตามสภาพจริง และครูต้องมีองค์ความรู้ในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 3.3) ด้านการเรียนการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนทั้งสองกลุ่มได้ทำกิจกรรมร่วมกันให้มากที่สุด โดยใช้กิจกรรม วิธีการ เทคนิค และสื่อการสอนที่หลากหลาย การประเมินผลการเรียน หรือการร่วมกิจกรรมควรใช้วิธีการและเกณฑ์ที่ต่างกับนักเรียนปกติทั่วไป โดยให้สอดคล้องกับสภาพความบกพร่องของนักเรียน ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจด้านการศึกษาพิเศษ ควรกำกับให้มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างจริงจัง ใช้การนิเทศกำกับติดตามเพื่อให้มีการรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บริหารโรงเรียนและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง การส่งต่อเพื่อการเลื่อนชั้นควรทำสมุดรายงานผลการเรียนเป็นพิเศษโดยระบุจุดเด่น จุดด้อยที่เด็กควรได้รับการพัฒนาอย่างชัดเจน 3.4) ด้านเครื่องมือ ให้มีการจัดทำนโยบายวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนงาน โครงการ โดยให้ครอบคลุมถึงกลุ่มนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และควรจัดให้มีเครือข่ายการเรียนร่วมที่เข้มแข็ง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย