ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้คำถามขยายความคิด

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

บุษกร ณ สงขลา

สำนักพิมพ์: 

สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2549

เลขหมู่: 

ว.พ.372.218 บ48ค

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ โดยใช้คำถามขยายความคิด 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติและ 3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้คำถามขยายความคิด และการจัดประสบการณ์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลกมลทิพย์ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้คำถามขยายความคิด แผนการจัดประสบการณ์แบบปกติและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ในรูปของความสัมพันธ์ตามแนวทฤษฏีของกิลฟอร์ดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้คำถามขยายความคิด มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดสร้างสรรค์รวม สูงกวาก่อนได้รับการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. เด็กปฐมวันที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดสร้างสรรค์รวมสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการประสบการณ์โดยใช้คำถามขยายความคิด มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ด้านคงามคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดสร้างสรรค์รวม สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข

ภาคผนวก ค

ภาคผนวก ง

ภาคผนวก จ

ประวัติผู้วิจัย