ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษา กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ทวีศักดิ์ จันทรโชติ

สำนักพิมพ์: 

สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2549

เลขหมู่: 

ว.พ363.45 ท17ป

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของตำรวจตระเวนชายแดนไปปฏิบัติ สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 จังหวัดสงขลา ที่มีความแตกต่างกันในด้าน ระดับชั้นยศ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโนบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติกับความสำเร็จของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติของตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 จังหวัดสงขลา 3) เพื่อสรุปข้อคิดเห็น ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 และกองร้อยปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในจังหวัดสงขลา จำนวน 286 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายแบ่งชั้นตามตัวแปร ระดับชั้นยศ คือระดับชั้นยศเป็นชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามด้านปัจจัยด้านมาตรฐานและด้านวัตถุประสงค์ของนโยบายเท่ากับ 0.84 ปัจจัยด้านทรัพยากรสนับสนุนเท่ากับ 0.87 ปัจจัยด้านสมรรถนะของหน่วยงานเท่ากับ 0.80 ปัจจัยด้านความร่วมมือและสนับสนุจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่ากับ 0.81 และแบบสอบถามเกี่ยวกับความสำเร็จในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติเท่ากับ 0.83 โดยค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 46-50 ปี ระดับยศ เป็นระดับสัญญาบัตรร้อยละ 35 ระดับชั้นประทวนร้อยละ 65 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและมีเวลาในการรับราชการ ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 26-30 ปี 2. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านมาตรฐานและวัตถุปรัสงตล์ของนโยบายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ในระดับมาก ส่วนด้านทรัพยากรสนับสนุน ด้านสมรรถนะของหน่วยงานและ ด้านความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติของกลุ่มนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรกับชั้นประทวนพบว่าด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านทรัพยากรการสนับสนุน ด้านสมรรถนะของหน่วยงานและด้านความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง 3. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติ โดยเฉลี่ยมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาในปัจจัยแต่ละด้าน พบว่าปัจจัยด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ปัจจัยด้านความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้านทรัพยากรสนับสนุนและด้านสมรรถนะของหน่วยงานมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่กลุ่มตัวอย่างเสนอแนะเรียงลำดับตามค่าร้อยละ คือขาดงบประมาณ การไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ การได้รับงบประมาณ ล่าช้า (32.33) ขาดบุคลากรที่มีประสบการณืในการทำงาน บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติ วิธีดำเนินการ ไม่เข้าใจข้อกฎหมาย (12.63) ผู้ปฏิบัติงานขาดความซื่อสัตย์ ขาดจิตสำนึกต่อหน้าที่ (9.09) เจ้าหน้าที่ไม่มีขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีความเสี่ยง (7.07) ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน (5.56) หน่วยงาน/ผู้บังคับบัญชาไม่ให้ความสำคัญ ไม่สนับสนุน (5.05) มีเงินทุนหมุนเวียนมหาศาล การปฏิบัติงานไม่เป็นขั้นตอนไม่ต่อเนื่อง ขาดอุปกรณ์ มีไม่เพียงพอ บทลงโทษ ทางกฎหมายน้อนเกินไปและไม่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันและกฎหมายไม่เอื้อต่อผู้ปฏิบัติงาน ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

หน้าอนุมัติผล

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข

ภาคผนวก ค

ภาคผนวก ง

ประวัติผู้วิจัย