การสร้างบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ดารณี ชาจิตตะ

สำนักพิมพ์: 

สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

ว.พ.420.712 ด27ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อหาประสิทธืภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นก่อนการใช้และหลังการใช้บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสงขลา จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองใช้บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นแต่ละกลุ่มควบคุมใช้บทเรียนปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นจำนวน 15 บท แบบทดสอบก่อนเรียน 1 ฉบับ จำนวน 40 ข้อและแบบทดสอบหลังเรียน 1 ฉบับ จำนวน 40 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการอ่านภาาาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น และมีประสิทธิภาพของบทเรียนที่80.84/80.58 2. ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังจากการใช้บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการใช้บทเรียนการอ่าน 3. ผลสัมฤทธิ์ในการอ่นภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการใช้บทเรียนการอ่านที่เน้นบริบทท้องถิ่นสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาาาอังกฤษที่ใช้บทเรียนปกติของนักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

บทคัดย่อ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข

ภาคผนวก ค 1

ภาคผนวก ค 2

ภาคผนวก ง

ภาคผนวก จ

ประวัติผู้วิจัย