รายงานการสังเคราะห์งานวิจัย โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาครูและโรงเรียนเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคตะวันตก

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ทัศนีย์ ประธาน

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

ว.371.2 ท119ร

รายละเอียด: 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสังเคราะห์ผลการวิจัยในชุดโครงการวิจัยเพื่อ พัฒนาครูและโรงเรียนเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู ที่ดําเนินการในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตภูมิศาสตร์ภาคตะวันตก ปีงบประมาณ 2547 เป็นภาพรวมเกี่ยวกับ 1. การดําเนินการวิจัยตามกรอบข้อกําหนดทุนสนับสนุนการวิจัย 2. ผลการดําเนินการวิจัยที่เกี่ยวกับมาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู โครงการและกิจกรรมการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูที่ดําเนินการในปีงบประมาณ 2547 และผลการประเมินการพัฒนาครูและโรงเรียนตามโครงการและกิจกรรมที่พัฒนา 3. สังเคราะห์มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ ผลการวิจัย 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและเพชรบุรี มีการดําเนินกิจกรรมครบตาม กรอบข้อกําหนดทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย การใช้กระบวนการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีมาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู มีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการพัฒนาครูและโรงเรียน และมีการดําเนินการพัฒนาครู และโรงเรียนตามแผนที่กําหนดให้และมีการประเมินผลการดําเนินการพัฒนา ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงและกาญจนบุรี ขาดกิจกรรมการจัดทําแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติแต่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงมีการจัดทําแผนกลยุทธ์เฉพาะวิสัยทัศน์ โดยปรับจากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเดิม โดยเพิ่มส่วนที่เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กําหนดมาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู 3 ด้าน 14 มาตรฐาน 35 ตัวชี้วัด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีลักษณะใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี คือ มีมาตรฐานที่เน้นเฉพาะด้านโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู และมีเฉพาะมาตรฐานไม่มีตัวชี้วัด แต่มีระดับการประเมิน 3 ระดับ โดยมหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรีมี 24 มาตรฐาน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มี 19 มาตรฐาน ส่วนมาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูของโรงเรียนหมู่บ้านจอมบึง ประกอบด้วย 9 มาตรฐาน 50 ตัวชี้วัด นอกจากนี้ยังพบว่า มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูที่ทุก มหาวิทยาลัยเห็นสอดคล้องกันในตัวชี้วัดที่ ควรกําหนดให้มีในปัจจัยด้านความพร้อมของสถานศึกษา ได้แก่ ระบบการจัดการอาคาร สถานที่ แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมและสิ่ง อํานวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีระบบจัดการคุณภาพในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และเห็นสอดคล้องกันเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพชรบุรี และ กาญจนบุรีในมาตรฐานเกี่ยวกับครูในสถานศึกษามีความเป็นครูและปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี แก่ผู้เรียน มีความสามารถในการนิเทศนักศึกษาครูในกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ผู้บริหารมีความสามารถในการเป็นผู้นําทางวิชาการและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถานศึกษามีระบบการติดตามประเมินผลการ ดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพและนําผลการประเมินมาใช้ และให้ความร่วมมือในการวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอน องค์ความรู้ทางการศึกษาและวิชาชีพ และมาตรฐานคุณลักษณะครุศาสตรบัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในความเป็นครูและเป็นครูชั้นวิชาชีพ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีกิจกรรมพัฒนาครูโดยการศึกษาดูงานโรงเรียนดีเด่นในแต่ละกลุ่มสาระ แต่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีกิจกรรมการพัฒนาเพิ่มกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โรงเรียน ร่วมพัฒนาวิชาชีพครูสู่การปฏิรูปการเรียนรู้และมีการมอบเอกสารเชิงวิชาการพร้อมวีดิทัศน์ ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีการพัฒนาครูโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด และการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก