ปัญหาและความคิดเห็นของครูชั้น ป.1 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด พุทลุง สงขลา สตูล เกี่ยวกับหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
โกมล บัวเผือน |
สำนักพิมพ์: |
วิทยาลัยครูสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2534 |
เลขหมู่: |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) รวมทั้งปัญหาต่างๆ ที่ครูพบในการใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูประจําชั้นประถมปีที่หนึ่งสังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัด พัทลุง สงขลา สตูล จํานวน 293 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ปรากฏผลการวิจัยดังนี้
1. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555) ครูส่วนมากเข้าใจหลักสูตรดีพอสมควร หลักการ จุดหมาย และโครงสร้างของหลักสูตรชัดเจนเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน จุดประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ในคําอธิบายรายวิชาพอสมควร เนื้อหาสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรทุกกลุ่มประสบการณ์ มีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนทั้งด้านความยากง่าย ความมากน้อยของเนื้อหา อัตราเวลาเรียนมีความเหมาะสมกับเนื้อหา ควรเพิ่มอัตราเวลาเรียนในกลุ่มทักษะภาษาไทย และกลุ่มทักษะคณิตศาสตร์ ด้านแนวการสอน/แผนการสอน ครูมีความเข้าใจในการทําพอสมควร และช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น แต่เพิ่มภาระให้กับครูพอสมควร หัวข้อที่มีปัญหาในการทําคือจุดประสงค์และสาระสําคัญ การวัดผลและการประเมินผลครูมีความเข้าใจและปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ สอนซิอมเสริมแก่นักเรียนที่ต่ำกว่า เกณฑ์พอสมควร ได้เปรียบเทียบผลการประเมินกับปีก่อนในบางกลุ่มประสบการณ์ การนิเทศและติดตามผล ครูได้รับความช่วยเหลือจากศึกษานิเทศกและนักวิชาการพอสมควร ครูต้องการความช่วยเหลือในด้านการทําแนวการสอน แผนการสอนมากที่สุด
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครู ครูที่มีวุฒิต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน 52 ข้อ จากจํานวน 94 ข้อ ครูที่มีประสบการณ์การสอนต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน 42 ข้อจากจํานวน 94 ข้อ ครูที่สอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน 40 ข้อ จากจํานวน 94 ข้อ
3. ปัญหาและข้อเสนอแนะของครู การอบรมการใช้หลักสูตรควรเพิ่มระยะเวลาในการอบรม การแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรควรกระทําเมื่อมีความพร้อมทุกด้าน สํานักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ศึกษานิเทศก์จังหวัด ศึกษานิเทศก์อําเภอ ควรทําแนวการสอน / แผนการ สอนให้ เพราะสร้างปัญหาและเพิ่มภาระแก่ครูมาก ควรจัดอบรมเรื่องการวัดผลและประเมินผลโดยเฉพาะ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ควรนิเทศให้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพราะครูต้องการความช่วยเหลือแนะนําในด้านต่าง ๆ
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ส่วนหน้า
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
|
|
|