ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
เนตรดาว ปาลรัตน์ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2555 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.371.2 น54ก 2555 |
|
รายละเอียด: |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิทางลูกเสือ 3) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามลักษณะ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ANOVA และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก กิจกรรมรายด้านพบว่าเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือ การรายงานกิจการลูกเสือในรอบปี การบังคับบัญชาลูกเสือ การเงินลูกเสือ และการจัดตั้งกองลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และกลุ่มลูกเสือ 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำแนกตามเพศ วุฒิทางลูกเสือ และประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัญหาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีสาเหตุมาจากผู้บริหารขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และประสบการณ์การบริหารงานตามวัฏจักรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming) โดยเฉพาะด้านการวางแผน การบริหารงานกิจกรรมลูกเสือ ผู้บริหารให้ความสำคัญน้อย ขาดการศึกษานโยบาย จุดมุ่งหมาย และสภาพปัญหาตลอดจนความต้องการของชุมชนเพื่อได้ข้อมูลในการจัดกิจกรรมลูกเสือที่ให้ข้อมูลสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงตลอดจนขาดข้อมูลสารสนเทศ การวิเคราะห์รวบรวม จุดเด่น จุดด้อยในการจัดกิจกรรมลูกเสือเพื่อหาแนวทางส่งเสริม ปรับปรุงและพัฒนาให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ปัญหาจากสถานการณ์ความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนใต้ที่เกิดขึ้นได้สร้างความหวาดกลัวให้กับนักเรียน ครู และผู้บริหาร ซึ่งเป็นปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้การบริหารงานกิจกรรมลูกเสือมีอุปสรรคใน การบริหารงานตามวัฏจักรคุณภาพของเดมมิ่งที่กำหนดไว้ด้อยคุณภาพไม่บรรลุเป้าหมาย ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|