ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
สชาสิริ วัชรานุรักษ์ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2553 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.371.9 ส12ก 2557 |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เป็นฐานในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เป็นฐาน ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ที่จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ด้านการศึกษาพิเศษ และการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องแต่ละประเภท และ ศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีทเป็นฐานในโรงเรียนแกนนำจัดการ เรียนร่วม ดำเนินการวิจัยในพื้นที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูการศึกษาพิเศษ ครูสอนทั่วไป (วิชาภาษาไทยและวิชาคณิตศาสตร์) ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสงขลา เขต 3 จำนวน 164 คน ได้มาจากการสุ่ม โดยการเปิดตารางเครจซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที กรณีสองกลุ่มอิสระจากกัน และการทดสอบเอฟ ส่วนข้อมูลปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้างซีท เป็นฐานในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ ด้านเครื่องมือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านนักเรียน และด้านสภาพแวดล้อม 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ด้านการศึกษาพิเศษต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้างซีท เป็นฐานในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้างซีท เป็นฐานในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ไม่แตกต่างกัน และ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเสนอปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ โดยเห็นว่าควรส่งเสริมให้นักเรียนปกติ มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิเศษเรียนร่วม ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และ ให้สอดคล้องกับความต้องการ ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย ตามศักยภาพของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ โดยเน้นทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต อีกทั้งควรมีเครื่องมือ สื่อสำหรับใช้กับนักเรียนพิเศษอย่างจำเพาะเจาะจง |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|