สภาพการบริหารโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ควบคู่หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต15 จังหวัดนราธิวาส

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

อุษณีย์ ทองนุ่น

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.371.2 อ48ส 2555

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ควบคู่หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบ 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ควบคู่หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และขนาดของโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอนสามัญ และครูผู้สอนอิสลามศึกษา จำนวน 163 คน จากประชากรทั้งหมด จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามสภาพการบริหารโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ควบคู่หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม ลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 53 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) โดยภาพรวมผู้บริหาร ครูผู้สอนสามัญ และครูผู้สอนอิสลามศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ผลการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอนสามัญ และครูผู้สอนอิสลามศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ดังนี้ ด้านงบประมาณ ( =3.48) รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมนักเรียน ( =3.45) ด้านวิชาการ ( =3.35) และด้านบุคคล ( =3.20) และ 2) ผู้บริหาร ครูผู้สอนสามัญ และครูผู้สอนอิสลามศึกษามีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ควบคู่หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย