ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ : กรณีศึกษาโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

สิกขวัฒฑ์ ขวัญแก้ว

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2549

เลขหมู่: 

ว.พ.371.2 ส31ค

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบริหารงานของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ : กรณีศึกษาโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา ในด้านบริหารงานทั่วไปด้านบริหารแผน งานและงบประมาณ ด้านบริหารบุคลากร ด้านบริหารวิชาการ ด้านบริหารกิจการนักเรียน และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบริหารงานของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ : กรณีศึกษาโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา ตามตัวแปร เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ศาสนาระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ การมีส่วนร่วม และระดับสติปัญญาของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 140 คน และกรณีศึกษาจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ โดยข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานภาพนำมาหาค่าร้อยละ ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจ นำมาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความพึงพอใจจำแนกตามสถานภาพ ใช้การวิเคราะห์ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับค่าเอฟ (F-test) จะนำไปเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe s Post hoc Comparison) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบริหารงานของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ : กรณีศึกษาโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านบริหารบุคลากร ด้านบริหารกิจการนักเรียน ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารแผนงานและงบประมาณ และด้านบริหารวิชาการ 2. การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบริหารงานของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ : กรณีศึกษาโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา พบว่า 2.1 ผู้ปกครองที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ศาสนา ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของโรงเรียนไม่แตกต่างกัน 2.2 การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองจำนวนครั้งต่อปี ในกิจกรรมของโรงเรียน มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนจำนวนครั้งต่อปี 6 ครั้งขึ้นไป แตกต่างจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน จำนวน 1-3 ครั้งต่อปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการเปรียบเทียบคู่อื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 2.3 ผู้ปกครองที่มีนักเรียนระดับสติปัญญา (IQ) ต่างกัน มีความพึงพอใจในด้านบริหารบุคลากรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นผู้ปกครองมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง