สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ยาใจ โรจนวงศ์ชัย

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2553

เลขหมู่: 

ว.004.072 ย22ส

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของอาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาภาคปกติและภาค กศ.บป. กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์และนักศึกษา จํานวน 535 คน ประกอบด้วย อาจารย์จํานวน 165 คน และนักศึกษา จํานวน 370 คน ซึ่งได้มาโดยกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางของเครจซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ และชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้วิธีการหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาจารย์ 1.1 อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเมื่อมีการเรียนการสอน ซึ่งสถานที่มักเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ในการเรียนการสอนยัง ไม่เพียงพอ 1.2 ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของอาจารย์อยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ความรู้และประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของอาจารย์เกิดจากการฝึกอบรมและ ศึกษาด้วยตนเอง 1.3 อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลิตสื่อการสอนด้วยตนเองในทุกรายวิชา 1.4 อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสารมากที่สุด รองลงมาใช้เพื่อเตรียมเอกสารการสอนและข้อสอบ และใช้เพื่อสืบค้นข้อมูล ตามลําดับ 1.5 อาจารย์มีการพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตปีละ 1 ครั้ง และต้องการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องให้มากที่สุด 2. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษา 2.1 นักศึกษาส่วนใหญ่เรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 2-3 รายวิชา โดยเรียนที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ 2.2 นักศึกษาได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนเพียงบางรายวิชา 2.3 นักศึกษาใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้ดี ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล รองลงมาใช้เพื่อพิมพ์รายงานหรือโครงงาน และใช้เพื่อติดต่อสื่อสาร ตามลําดับ 3. ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาจารย์ อาจารย์มีปัญหาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งโดยรวมและแยกย่อยในแต่ละด้าน 4. ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษา นักศึกษามีปัญหาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม และด้านองค์ประกอบสนับสนุนอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งโดยรวมและแยกย่อยในแต่ละด้าน 5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาทั้งภาคปกติและ ภาค กศ.บป. นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ส่วนใหญ่เรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 2-3 รายวิชา โดยเรียนที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ และรายวิชาที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์มีเพียงบางรายวิชา ส่วนความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนั้น นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความรู้อยู่ในเกณฑ์พื้นฐาน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือ นักศึกษาภาคปกติส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล แต่นักศึกษาภาค กศ.บป. ใช้เพื่อพิมพ์รายงานหรือโครงงาน 6. ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาของภาคปกติ และภาค กศ.บป. โดยรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่าด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัญหาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และด้านองค์ประกอบสนับสนุนอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย