สภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ผจง สงคราม

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.371.2 ผ12ส 2555

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 จังหวัดตรัง จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว จำนวน 276 คน โดยสุ่มจากประชากร คือ ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว จำนวน 922 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 55 ข้อ มีความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t - test การทดสอบค่าเอฟ (F - test) และการทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีวิเคราะห์ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1 สภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง โดยภาพรวมผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนวมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านกระบวนการและด้านปัจจัยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านคุณภาพนักเรียนอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านกระบวนการ รองลงมา คือ ด้านปัจจัย และด้านคุณภาพนักเรียน 2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 จังหวัดตรัง จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน พบว่า จำแนกตามตำแหน่งผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนวมี ความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน พบว่า ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนวมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรังไม่แตกต่างกัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย