การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง หัตถกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

พรทิพย์ แก้วประดิษฐ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.พ.372.82 พ17ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง หัตถกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง หัตถกรรมสร้างสรรค์ และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ โดยศึกษาคุณภาพของหน่วยการเรียนรู้จากประเด็นต่อไปนี้ 3.1) ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนจากการใช้หน่วยการเรียนรู้ 3.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการใช้หน่วยการเรียนรู้ 3.3) ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หน่วยการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จำนวน 25 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling )ใช้เวลาในการทดลอง 16 ชั่วโมง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) แบบประเมินความเหมะสมขององค์ประกอบหน่วย แบบประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบหน่วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องหัตถกรรมสร้างสรรค์ จำนวน 11 แผน แบบประเมินทักษะการปฎิบัติงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานควรให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่องหัตถกรรมสร้างสรรค์ การจัดการเรียนการสอนของหน่วยการเรียนรู้ควรใช้วิธีการที่หลากหลาย เน้นทักษะการปฏิบัติจริง กระบวนการกลุ่ม ฝึกให้นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ และมีการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง 2. ผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชื่อหน่วยการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับชั้นหลักการ จุดมุ่งหมาย จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา/สาระการเรียนรู้ กำหนดเวลาเรียนกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและผลการตรวจสอบคุณภาพหน่วย พบว่า หน่วยการเรียนรู้มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.78 มีความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ โดยมี ค่าดัชนีสอดคล้องรายข้อ ตั้งแต่ 0.60 - 1.00 3. ผลการนำหน่วยการเรียนรู้ไปใช้และการประเมินผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง หัตถกรรมสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผล ดังนี้ 3.1 ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 80.96 และคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 89 ซึ่งผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก 3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการใช้หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง หัตถกรรมสร้างสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 23.40 และคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.92 ซึ่งผ่านเกณฑ์ในระดับดี 3.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนหน่วยการเรียนรู้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.47 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.60

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย