การศึกษาเปรียบเทียบเจตคติและความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนพูดสองภาษาที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้นิทานพื้นบ้านกับบทอ่านทั่วไปในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

เสาวภา กาญจนะ

สำนักพิมพ์: 

สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2545

เลขหมู่: 

ว.พ.372.41 ส517ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบเจตคติและความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนพูดสองภาษาที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้นิทานพื้นบ้านกับบทอ่านทั่วไปในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนบ้านแว้ง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างง่าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ได้รับการสอนอ่านโดยใช้นิทานพื้นบ้าน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ได้รับการสอนอ่านโดยใช้บทอ่านทั่วไป ผู้วิจัยดำเนินการสอนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเอง ใช้เวลาในการสอนกลุ่มละ 9 คาบ ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาไทย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 2.56 ขึ้นไป ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาไทย เท่ากับ .93 และแบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีค่าความยากง่าย .20-.30 และค่าอำนาจจำแนก .20 ขึ้นไป ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่างของคะแนน (ค่าที) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ นักเรียนที่ได้รับการอ่านโดยใช้นิทานพื้นบ้านกับนักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้บทอ่านทั่วไปมีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้นิทานพื้นบ้านมีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้บทอ่านทั่วไป นักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้นิทานพื้นบ้านกับนักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้บทอ่านทั่วไปมีเจตคติการอ่านภาษาไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้นิทานพื้นบ้านมีเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้บทอ่านทั่วไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข

ภาคผนวก ค

ภาคผนวก ง

ภาคผนวก จ

ภาคผนวก ฉ

ประวัติผู้วิจัย