การวิเคราะห์แนวดำเนินทำนองเพลงโหมโรงไอยเรศทางซออู้

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ณรงค์ชัย ปิฏกรัชต์

สำนักพิมพ์: 

ภาควิชาดนตรี วิทยาลัยครูสงขลา กรมการฝึกหัดครู

ปีที่พิมพ์: 

2536

เลขหมู่: 

ว.780.7 ณ17ร

รายละเอียด: 

การวิเคราะห์แนวดเนินทํานองเพลงโหมโรงไอยเรศทางชออู้ ดําเนินการศึกษาข้อมูลทำนองเพลงโหมโรงไอยเรศ จํานวน 24 ทาง แบ่งเป็นแนวทำนองหลัก 1 ทาง ทํานองที่ใช้วิเคราะห์แนวดเนินทํานองเพลง 23 ทาง รวมจํานวนท่อนเพลง 96 ท่อน จํานวนหน้าทับ 480 หน้าทับ และจํานวนหน่วยวิเคราะห์ 960 หน่วย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการทราบข้อมูลขอกู้ในวงดนตรีไทย ข้อมูลนักดนตรี ประวัติความเป็นมาของเพลงโหมโรงไอยเรศ โครงสร้างเพลงโหมโรงไอยเรศและแนวดำเนินทํานองเพลงโหมโรงไอยเรศทางซออู้ วิธีดําเนินการวิจัย จําแนกออกเป็น 3 ตอน คือ ศึกษาข้อมูลขอกู้ในวงดนตรีไทย และข้อมูลนักดนตรี ศึกษาลักษณะของเพลงโหมโรง ประวัติความเป็นมาและโครงสร้างของเพลงโหมโรงไอยเรศ และวิเคราะห์แนวดําเนินทํานองเพลงโหมโรงไอยเรศทางซออู้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ซออู้เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทสาย ทําหน้าที่ดําเนินทํานองคลุกเคล้า ยั่วเย้า หลอกล่อ ให้ความครึกครื้นสนุกสนาน ระดับเสียงของชอสู้เหมาะต่อการดําเนินทํานองในแนว ทุ่ม- ต่ำ ช่วงเสียงปกติเริ่มจากสายทุ้ม เสียงโดไปจนถึงสายเอก เสียงเรสูง ซออู้ประสมอยู่ในวงเครื่องสาย วงเครื่องสายประสม วงเครื่องสายปี่ชวา วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวมและ วงปี่พาทย์ดึกดําบรรพ์ 2. เพลงโหมโรงไอยเรศ เป็นเพลงอัตราจังหวะสามชั้น กำกับจังหวะด้วยหน้าทับ ปรบไก่มี 4 ท่อน 20 จังหวะ ประกอบด้วยท่อน 1 จำนวน 3 จังหวะ ท่อน 2 จํานวน 4 จังหวะ ท่อน 3 จํานวน 7 จังหวะและท่อน 4 จํานวน 6 จังหวะ นายช้อย สุนทรวาทิน ได้แต่งขยายจากเพลงไอยเรศงาสองชั้น ทํานองเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา สําหรับใช้เป็นเพลงโหมโรงเสภาในวงปี่พาทย์ของพระยาจิรายุมนตรี (เนียม) ในสมัยรัชกาลที่ 5 3. แนวดําเนินทํานองเพลงโหมโรงไอยเรศ มีระดับเสียงลูกตกซึ่งเป็นระดับเสีย ควบคุมหลัก จํานวน 5 ระดับเสียง คือ เสียงโด เร มี ชอล และลา เมื่อพิจารณาจังหวะควบคุมย่อยของฉิ่ง พบว่ามีระดับเสียงที ในท่อนที่ 3 จังหวะที่ 7 4. แนวดำเนินทํานองทางซออู้มีความหลากหลายไปตามทางของนักดนตรีแต่ละคน เมื่อเปรียบเทียบทํานองจากสํานวนเพลงแล้ว พบว่ามี 4 ลักษณะ คือ 4.1 มีแนวดำเนินทํานองเพลงที่ตรงกันทั้งสํานวน 4.2 มีแนวดําเนินทํานองเพลงที่ตรงกันแต่ต่างระดับเสียง 4.3 มีแนวดําเนินทํานองเพลงที่เริ่มต้นสนวนเหมือนกันแต่แยกทํานองไปตามระดับเสียงลูกตก 4.4 มีแนวดําเนินทํานองเพลงที่เริ่มต้นสํานวนต่างกันแต่เหมือนกันที่ท้ายสํานวน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก