การส่งเสริมของผู้บริหารในการทำวิจัยในชั้นเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

พีระ บุญรักษ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.372.1 พ37ก 2555

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมของผู้บริหารในการทำวิจัยในชั้นเรียนตามการรับรู้ของครู และ 2) การเปรียบเทียบการส่งเสริมของผู้บริหารในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ตามคุณลักษณะของผู้บริหาร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา วิทยฐานะ ประสบการณ์ในการบริหารงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จำนวน 315 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน ได้จำนวนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 97 คน ขนาดกลาง 120 คน และขนาดใหญ่ 98 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการส่งเสริมของผู้บริหารในการทำวิจัยในชั้นเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 มีค่าความเที่ยงตรง 0.60 - 1.00 ความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการส่งเสริมของผู้บริหารในการทำวิจัยในชั้นเรียนตามการรับรู้ของครูในภาพรวมและในรายด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ผู้บริหารมีระดับการส่งเสริมในการทำวิจัยในชั้นเรียนตามการรับรู้ของครูด้านการพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนมากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านความพร้อมในการทำวิจัยในชั้นเรียน และด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการส่งเสริมของผู้บริหารในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูตามคุณลักษณะของผู้บริหาร พบว่า ผู้บริหารที่มีเพศต่างกันมีการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในภาพรวมและในรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารเพศหญิงจะมีระดับการส่งเสริมการทำวิจัยสูงกว่าผู้บริหารเพศชาย และผู้บริหารที่มีอายุต่างกันมีการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริหารที่มีอายุต่างกันจะมีการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านความพร้อมในการทำวิจัยและด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูแตกต่างกัน ยกเว้นด้านการพัฒนางานวิจัยที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารที่มีระดับการศึกษาวิทยฐานะ ประสบการณ์ในการบริหารงาน และขนาดของโรงเรียนต่างกัน มีการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย