ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต3

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

พนารัตน์ เสนเกตุ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.371.2 พ15ศ 2555

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถภาพทางการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถภาพทางการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ ด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้านการวางแผนและการจัดระเบียบการประชุม ด้านการตัดสินใจ ด้านการสร้างทีมงาน ด้านการสรรหา และคัดเลือกบุคลากร ด้านการนำในการเปลี่ยนแปลง ด้านการมอบหมายงานบุคลากรและด้านการสร้าง บรรยากาศที่ดี ตามลำดับ 2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือความสามารถในการพัฒนาเจตคติของนักเรียนส่วนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3. ความความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง (r = .92) เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า ด้านการสร้างบรรยากาศที่ดี มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา มีค่าความสัมพันธ์สูงสุด (r = .91) รองลงมาคือด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร (r = .90) ด้านการนำในการเปลี่ยนแปลง (r = .88) ด้านการตัดสินใจ (r = .88) ด้านการมอบหมายงานบุคลากร (r = .87) ด้านการสร้างทีมงาน (r = .85) ด้านการวางแผนและการจัดระเบียบการประชุม (r = .82) และด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (r = .79) ตามลำดับ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย